คลินิกเทคโนโลยี ได้กำหนด 4 แผนงานหลักในการขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามที่ได้ตั้งเป้าหมายได้ ดังนี้


คู่มือดำเนินงานคลินิกเทคโนโลยี ปี 2559<<< คลิกเพื่อดาวน์โหลด

1. แผนงานการบริการคำปรึกษาและข้อมูลเทคโนโลยี
   ความหมาย
   คำปรึกษา หมายถึง การให้ความรู้ คำแนะนำเกี่ยวกับเทคโนโลยีเบื้องต้นจากผู้เชี่ยวชาญหรือเทคโนโลยีที่มีการถ่ายทอดฯไปแล้วจากเจ้าของเทคโนโลยีโดยตรง
   ข้อมูลเทคโนโลยี หมายถึง ความรู้ที่ให้บริการในรูปแบบของเอกสาร สิ่งพิมพ์ เว็บไซต์ วิดีทัศน์ เป็นต้น

   ขอบเขตการดำเนินงาน
   1. การบริการคำปรึกษาและข้อมูลเทคโนโลยี โดย
       1.1 กำหนดสถานที่และวิธีการให้บริการ เช่น ทางโทรศัพท์ เว็บไซต์ วิทยุ การบริการเคลื่อนที่ เป็นต้น
       1.2 รวบรวม/จัดทำฐานข้อมูลเทคโนโลยี/ผู้เชี่ยวชาญ
       1.3 การสำรวจความต้องการและจัดทำข้อมูลความต้องการ รวมทั้ง จัดช่องทาง/เวที รับฟังประเด็นปัญหา/ความต้องการของ อสวท.
       1.4 การประชาสัมพันธ์ให้ผู้บริการรับทราบช่องทางและเรื่องที่ให้บริการ
   2. ประสานงานและบริหารจัดการเครือข่าย
       2.1 การประสานงานระหว่างคณะ ภาควิชา ภายในสถาบันการศึกษา และประสานกับกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ในเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานคลินิกเทคโนโลยี
       2.2 การบริการจัดการทางด้านการเงิน การงบประมาณ การติดตาม ประเมินผลและรายงาน ตามเงื่อนไขที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณ
   3. การประสานงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับรองผู้ว่าราชการจังหวัดที่เป็นผู้บริหารวิทยาศาสตร์ระดับสูง (PCSO) ได้แก่
       3.1 การทำหน้าที่เป็นผู้แทนของกระทรวงวิทยาศาสตร์ ในจังหวัด จัดทำแผนพัฒนาจังหวัดด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยร่วมเป็นฝ่ายเลขานุการคณะทำงานหรือร่วมเป็นผู้ทำงานฯ ในคณะทำงานฯ ดังกล่าง
       3.2 จัดให้มีเจ้าหน้าที่วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประจำจังหวัด เพื่อประสานและรับฟังข้อคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหา/ความต้องการทางเทคโนโลยี (โดยมองหมายให้ผู้แทน วท.ในแต่ละจังหวัดเป็นผู้กำกับดูแล:เฉพาะจังหวัดเป้าหมาย)

   เป้าหมายความสำเร็จและค่าเป้าหมาย
   1. จำนวนผู้รับบริการคำปรึกษาและข้อมูลเทคโนโลยี ไม่ตำกว่า 10000 คน/ครอบคลุมพื้นที่ 69 จังหวัด
   2. ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการฯ (ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80)
   3. ร้อยละผู้รับบริการฯนำไปใช้ประโยชน์ (ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70)
   4. ระดับความสำเร็จในการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดด้าน วทน. (ระดับ3)
   (ระดับ 1: ตั้งคณะทำงานฯ, ระดับ 2 : มีการประชุมร่วมกันไม่น้อยกว่า 2ครั้ง/ปี, ระดับ 3 : ได้แผน,ระดับ 4 : มีแผนงาน/โครงการของ วท.อยู่ในแผนพัฒนาจังหวัด,ระดับ 5 : จัดทำคำของบประมาณฯและได้รับการจัดสรร)

   เงื่อนไข 
   1. ผู้เสนอขอรับการสนับสนุนฯ เป็นผู้บริหารคลีนิกฯ (ผู้อำนวยการคลินิกฯ/ผู้จัดการคลินิกฯ) ที่สถาบันการศึกษาแต่งตั้งอย่างเป็นทางการ โดย ผู้บริหารคลินิกฯ ควรมีตำแหน่งบริหารในสถาบันการศึกษา (อธิการบดี รองอธิการบดี ผู้อำนวยการหรือรองผู้อำนวยการวิทยาลัย/สถาบัน/สำนัก/ศูนย์ คณบดีหรือรองคณบดี) โดยเสนอขอรับการสนับสนุนได้ คลินิกฯเครือข่ายละ 1 โครงการ (ไม่สนับสนุนคลินิกเทคโนโยลีที่เป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ)
   2. คลินิกฯ เครือข่าย (คลินิกเดิมฯ MOU ปี 2546-2548) มีการดำเนินงานในแผนงานนี้อย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 3 ปี
   3. คลินิกฯ เครือข่ายตั้งใหม่ (MOU ธันวาคม 2552-2554)
   4. คลินิกฯ เครือข่ายแห่งเดียวในพื้นที่จังหวัด หรือได้รับมอบหมายให้ดูแลพื้นที่ที่ไม่มีคลินิกฯเครือข่าย หรือเป็น เครือข่าย อสวท.
   5. ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้แทน วท.ในจังหวัด
   6. มีผลการดำเนินงาน ผลสำเร็จของงานปีที่ผ่านมาเท่ากับหรือสูงกว่าเป้าหมายมีการรายงานส่งผลงานครบถ้วน

   วงเงินขอรับการสนับสนุน ไม่เกิน 300,000 บาท/โครงการ/ต่อคลินิกฯ เครือข่าย

2. แผนงานถ่ายทอดเทคโนโลยี
   ความหมาย
   การถ่ายทอดเทคโนโลยี : หมายถึง กระบวยการที่นำเอาเทคโนโลยีที่เกิดขึ้น(หรือพัฒนาขึ้น)ในที่หนึ่ง เพื่อวัตถุประสงค์อย่างหนึ่งไปใช้ในที่อื่นเพื่อวัตถุประสงค์เดียวกันหรือเพื่อวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันออกไป โดยครอบคลุมประเด็นต่างๆ ดังนี้
   1. องค์ความรู้หรือประสบการณ์ความเชี่ยวชาญต่างๆ ที่เกิดจากการวิจัยและพัฒนา โดยผู้ที่มีความรู้ ความชำนาญในเรื่องนั้นๆ โดยตรง
   2. ข้อมูล คำแนะนำต่างๆ ที่ช่วยในการใช้องค์ความรู้ (มีเอกสารคู่มือ มีการสาธิต ฝึกปฏิบัติ)
   3. การนำองค์ความรู้ที่ได้รับไปใช้ให้เกิดประโยชน์

   ขอบเขตการดำเนินงาน
   1. เทคโนโลยีที่ถ่ายทอด ต้องประยุกต์มาจากผลการวิจัยและพัฒนา ของหน่วยงานในกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ หรือผลงานของสถาบันการศึกษา ที่ได้รับทุนสนับสนุนจากกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ หรือได้รับทุนภายในสถาบันการศึกษา หรือแหล่งทุนอื่นๆ
   2. มีความพร้อมและสามารถใช้งานได้จริง รวมทั้งมีการวิเคราะห์ ประเมินความเหมาะสมเทคโนโลยีที่จะนำไปถ่ายทอดฯ ให้แก่กลุ่มเป้าหมาย
   3. เทคโนโลยีที่ส่งเสริม 3 กลุ่มเทคโนโลยี ได้แก่ พลังงาน เกษตร และอาหาร เพื่อประยุกต์ใช้ประโยชน์
      3.1 เทคโนโลยีเพื่อการดำรงชีวิตและคุณภาพชีวิตของชุมชน (ลดมลภาวะ ลดค่าใช้จ่าย) เน้นเทคโนโลยีทางด้านพลังงานทดแทนในระดับชุมชน ที่ได้จากมูลสัตว์ น้ำเสีย ขยะ วัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร
           ตัวอย่าง การผลิตก๊าซชีวภาพจากมูลสัตว์ การผลิตก๊าซชีวภาพจากขยะและมูลสัตว์  การผลิตก๊าซชีวภาพจากน้ำเสียการผลิตยางแผ่น การผลิตถ่านคุณภาพสูงจากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร เป็นต้น 
      3.2 เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มผลิตภาพ (ต้นทุนลดลง คุณภาพดีขึ้น ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม) ในการผลิตพืช สัตว์ ปศุสัตว์ ที่เป็นอาชีพหลักของชุมชนและท้องถิ่น
           ตัวอย่าง เทคนิคการใช้แหนแดงและปุ๋ยชีวภาพในการปลูกข้าวต้นเดี่ยวเพื่อการผลิตข้าวเชิงเกษตรอินทรีย์ การผลิตพริกปลอดภัยจากสารพิษ (GAP) การขยายพันธุ์เชื้อราไตรโคเดอร์มาสายพันธุ์ที่มีประสิทธิภาพสูงเพื่อใช้ควบคุมโรครากเน่าโคนเน่า กระบวนการผลิตและการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวผลไม้ (ส้มโอ ลิ้นจี่ ลำไย) ตามมาตรฐานการส่งออก การแก้ไขเชื้อราในมะขามหวาน เทคนิคการเลี้ยงผึ้งโพรงเพื่อเพิ่มประชากรและจำนวนรังผึ้ง  เป็นต้น
      3.3 เทคโนโลยีเพื่อสร้าง/เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ของชุมชน (ต้นทุนลดลง คุณภาพดีขึ้น ได้การรับรองมาตรฐาน ได้ผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ดีกว่า/แตกต่างกว่าเดิม ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม)
           ตัวอย่าง การพัฒนากระบวนการผลิต ( สี กลิ่น รส อายุของผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์) กล้วยตากเพื่อจำหน่ายในตลาด Modern Trade  การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากเศษถั่วมะคาเดเมียเหลือทิ้งจากการกะเทาะเปลือก การประยุกต์ใช้วัสดุจากธรรมชาติมาย้อมเส้นไหม/ ฝ้าย  เป็นต้น
   4. วิธีการถ่ายทอดเทคโนโลยี ขั้นต้นต้องประกอบด้วย
      4.1 การให้ความรู้โดยการบรรยายผ่านภาพ เสียง หรือสื่ออื่นๆ จากเจ้าขององค์ความรู้ที่เกิดมาจากการวิจัยและพัฒนาและมีความชำนาญในเรื่องนั้นๆ โดยตรง โดยอาจมีการนำความรู้ในเรื่องอื่นๆ ที่สำคัญเข้าไปช่วยสนับสนุน เช่น การตลาด ตราสินค้า การบรรจุภัณฑ์ เป็นต้น
      4.2 การฝึกปฏิบัติ มีเอกสารคู่มือในการใช้ความรู้และฝึกปฏิบัติ
      4.3 มีการให้คำปรึกษาเพิ่มเติมอย่างต่อเนื่องภายหลังการถ่ายทอดเทคโนโลยี เพื่อให้มีการนำผลงานนั้นไปใช้ประโยชน์ได้จริง
   5. มีกลุ่มเป้าหมายชัดเจน โดยการถ่ายทอดเทคโนโลยี เกิดจากความต้องการหรือประเด็นปัญหาของ
      5.1 สมาชิกอาสาสมัครวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่มีอยู่กว่า 6,000 คน ใน 35 จังหวัด
      5.2 โจทย์ความต้องการจากการประชุมเชิงปฏิบัติการบูรณาการทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม กับจังหวัด/กลุ่มจังหวัด (รายการโจทย์ ปรากฏในภาคผนวก 1)
      5.3 รองผู้ว่าราชการจังหวัดในฐานะผู้บริหารวิทยาศาสตร์จังหวัดระดับสูง เพื่อสนับสนุนการพัฒนาจังหวัดด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม
      5.4 พื้นที่พิเศษ ได้แก่ พื้นที่เพื่อความมั่นคงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ยะลา ปัตตานีและนราธิวาส)  พื้นที่ที่ประสบอุทกภัย
      5.5 กลุ่มเป้าหมายอื่นๆ นอกเหนือจาก ข้อ 5.1) – 5.4) แต่ต้องอยู่ในกลุ่มผู้รับบริการตามที่ปรากฏในแผนปฏิบัติการฯ บทที่ 1 
   6. การมีส่วนร่วม ความพร้อมและความยั่งยืน
      6.1 กลุ่มเป้าหมายมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น ร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ (มีช่องทางในการเสนอข้อคิดเห็น เช่น การจัดเวทีเสวนา แบบสำรวจความต้องการ เป็นต้น)
      6.2 มีการจัดตั้งหรือรวมกลุ่ม มีเงินทุน/กองทุน
      6.3 มีสถานที่ เครื่องมือเครื่องใช้หรืออุปกรณ์ พร้อมที่จะนำเทคโนโลยีไปประยุกต์ใช้
      6.4 ได้รับการสนับสนุนจากจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (การสมทบงบประมาณการดำเนินงานหรือการขยายผล)

   เป้าหมายความสำเร็จและค่าเป้าหมาย
   1. จำนวนผู้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยี ไม่น้อยกว่า 10,000 คน
   2. ร้อยละของผู้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยี มีการนำผลงานฯไปประยุกต์ใช้ประโยชน์(ไม่น้อยกว่าร้อยละ40)
   3. ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยี (ไม่น้อยกว่าร้อยละ 85)

   เงื่อนไข    
   1. ผู้เสนอโครงการเป็นเจ้าของเทคโนโลยีหรือเป็นวิทยากรเครือข่าย (ได้รับการถ่ายทอดฯ สามารถดำเนินการเสมือนเจ้าของเทคโนโลยี)
   2. ผู้เสนอโครงการ หากไม่มีเทคโนโลยีความรู้ ความเชี่ยวชาญ แต่มีประเด็นปัญหา/ความต้องการจากกลุ่มเป้าหมาย เทคโนโลยีที่นำไปถ่ายทอดฯ ต้องเป็นผลงานของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ หรือสถาบันการศึกษาที่เป็นคลินิกฯ เครือข่าย
   3. ผู้เสนอโครงการฯ ดำเนินการได้ในพื้นที่ที่คลินิกฯ เครือข่าย (สถาบันการศึกษาที่ผู้เสนอโครงการสังกัดอยู่) ตั้งอยู่หรือพื้นที่ที่ได้รับมอบหมายพิเศษ/พื้นที่ที่ไม่มีการบริการของคลินิกฯ เครือข่าย
 
   วงเงินเสนอขอรับการสนับสนุนฯ ตั้งแต่โครงการละ 500,000 บาท        

3. แผนงานวิจัยและพัฒนาต่อยอดเทคโนโลยี
   ความหมาย
   การวิจัยพัฒนาและต่อยอด  หมายถึง ปรับปรุง/ดัดแปลง ผลงานวิจัยและพัฒนา/เทคโนโลยี/ภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่มีอยู่เดิม เพื่อให้สามารถใช้งานได้จริง  ให้มีประสิทธิภาพ/ประสิทธิผลกว่าของเดิม หรือเหมาะสมกับสภาวะของชุมชนท้องถิ่น ไม่สนับสนุนการวิจัยฯ พื้นฐานหรือการวิจัยฯ ในเรื่องใหม่ที่ไม่เคยมีการวิจัยฯ มาก่อน หรือการประดิษฐกรรมเพื่อการพัฒนาชนบท

   ขอบเขตการดำเนินงาน
   1. แสดงรายละเอียดสถานภาพและปัญหาของเทคโนโลยีเดิม
   2. มีกระบวนการ/วิธีการที่จะต่อยอดฯ ชัดเจน (เช่น มีการปรับปรุง/เปลี่ยน input หรือ process หรือมีการปรับปรุง/เปลี่ยน ทั้ง input และ process หรือนำ product มาประยุกต์ใช้ เป็นต้น)
   3. มีกลุ่มเป้าหมาย/จำนวนของกลุ่มเป้าหมาย ที่จะเป็นผู้ใช้เทคโนโลยีนั้นอย่างชัดเจน โดยให้ความสำคัญกับกลุ่มเป้าหมายในข้อ 5.1) – 5.5) เช่นเดียวกับที่ระบุไว้ในแผนถ่ายทอดฯ
   4. แสดงความคาดหวังและผลประโยชน์ที่จะได้รับจากการต่อยอดฯ
 
   เป้าหมายความสำเร็จและค่าเป้าหมาย
   จำนวนโครงการวิจัยและพัฒนาต่อยอดเทคโนโลยีที่ดำเนินการได้แล้วเสร็จในปีงบประมาณ (10 โครงการ )
 
   เงื่อนไข
   1. ผู้เสนอโครงการและผู้ร่วมโครงการ ต้องเป็นนักวิจัยที่มีประสบการณ์ในเทคโนโลยีที่จะต่อยอด
   2. ผู้เสนอโครงการสามารถดำเนินโครงการวิจัยฯ ได้แล้วเสร็จภายใน 10 เดือน

   วงเงินเสนอขอรับการสนับสนุนฯ โครงการละไม่เกิน 250,000 บาท
  การเสนอข้อเสนอโครงการ
  1. จัดทำข้อเสนอโครงการตามแบบฟอร์มที่กำหนดในแต่ละแผนงาน และจัดทำสำเนา  โครงการละ 4 ชุด
  2. จัดส่งข้อเสนอโครงการ มายังคลินิกเทคโนโลยี เพื่อจัดทำหนังสือนำส่งเป็นลายลักษณ์อักษร ลงนามโดยผู้บริหารหน่วยงาน ภายในเวลาที่กำหนดไว้ (ในปฏิทินการสนับสนุน) 

หมายเหตุ : ให้ผู้เสนอโครงการ จัดส่งมาคลินิกฯ วิทยาเขตกาญจนบุรี (งานวัจัยและส่งเสริมวิชาการ) เพื่อจัดทำหนังสือนำส่งไปยังกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี