ขอแสดงความยินดีกับนักศึกษาวิทยาเขตกาญจนบุรี มหาวิทยาลัยมหิดล ที่ผ่านเข้ารอบ Pitching Challenge for Prototype Development 10 ทีม
ขอแสดงความยินดีกับนักศึกษาวิทยาเขตกาญจนบุรี มหาวิทยาลัยมหิดล ที่ผ่านเข้ารอบ Pitching Challenge for Prototype Development 10 ทีมสุดท้าย ดังนี้
1. นางสาววัชราภรณ์ สันติภาพพงศ์ หลักสูตรบัญชีบัณฑิต ชั้นปีที่ 3 (ทีม เติมเต็ม : ก้านหอมออร์แกนิกจากเปลือกส้มโอ)
2. นางสาวนฤมล หนโสภณ หลักสูตรบัญชีบัณฑิต ชั้นปีที่ 3 (ทีม เติมเต็ม : ก้านหอมออร์แกนิกจากเปลือกส้มโอ)
3. นางสาวนันท์ภัส สุภาพสุนทร หลักสูตรบัญชีบัณฑิต ชั้นปีที่ 3 (ทีม เติมเต็ม : ก้านหอมออร์แกนิกจากเปลือกส้มโอ)
4. นางสาวจิตรลดา อัคราช หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (เทคโนโลยีการอาหาร) ชั้นปีที่ 3 (ทีม 1Q : เม็ดป๊อบล้างมือโดยไม่ใช้กระดาษทิชชู่และน้ำ)
5. นางสาวชาลิสา วงศ์เคี่ยม หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (เทคโนโลยีการอาหาร) ชั้นปีที่ 3 (ทีม 1Q : เม็ดป๊อบล้างมือโดยไม่ใช้กระดาษทิชชู่และน้ำ)
6. นางสาวพิชญาภา อุ่นแก้ว หลักสูตรบริหารธุรกิจ ชั้นปีที่ 3 (ทีม 1Q : เม็ดป๊อบล้างมือโดยไม่ใช้กระดาษทิชชู่และน้ำ)
7.นางสาวทรรษนนท์ วิจิตรสมบัติหลักสูตรบริหารธุรกิจ ชั้นปีที่ 3 (ทีม 1Q : เม็ดป๊อบล้างมือโดยไม่ใช้กระดาษทิชชู่และน้ำ)
8. นางสาวฮานาน เต๊ะซา หลักสูตรบัญชีบัณฑิต ชั้นปีที่ 2 (ทีม Carbon Conqueror: สเปรย์ฟิล์มเคลือบผิวเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตกระแสไฟฟ้ากับโซลาร์เซลล์)
เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2568 ที่ผ่านมา สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) ร่วมกับกองแผนงาน
จัดกิจกรรม Mahidol SDGs Impact Challenge 2024 รอบ Pitching Challenge for Prototype Development คัดเลือกผู้ผ่านเข้ารอบ 10 ทีมสุดท้าย ณ MaSHARES Co-Working Space @MB โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐวุฒิ พิมพา ผู้ช่วยคณบดีด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล คุณปณาลี เจริญจิตมั่น Investment Manager จากบริษัท ท็อป เวนเจอร์ส จำกัด และคุณณฐกร อสุนี ณ อยุธยา ผู้จัดการทั่วไป สมาคมธุรกิจเพื่อสังคม มาเป็นกรรมการตัดสินพร้อมมอบรางวัลให้กับทีมที่ผ่านเข้ารอบ
สำหรับกิจกรรม “Mahidol SDGs Impact Challenge 2025” จัดขึ้นเพื่อให้นักศึกษาได้รับทักษะการคิด วิเคราะห์ และวางแผน ตามกระบวนการ Design Thinking ในการวิเคราะห์โจทย์ หรือปัญหาภายใต้เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) โดยมุ่งเน้นให้นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติจริงในรูปแบบ Social Enterprise ผ่านกระบวนการที่ปรึกษา (Mentoring) ผู้เชี่ยวชาญมาให้คำปรึกษา คำแนะนำตลอดโครงการ และการแข่งขัน Pitching เพื่อให้ได้ผลงานที่สามารถนำไปใช้ในการแก้ไขปัญหา ก่อให้เกิดความยั่งยืน และผลกระทบเชิงบวกต่อเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมต่อไป
ขอขอบคุณข้อมูลและภาพจาก iNT