แนะนำหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณณิต

สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและการจัดการภัยพิบัติ

ทำไมต้องเรียนหลักสูตรนี้?

เป็นหลักสูตรแรกและหลักสูตรเดียวในประเทศไทย ที่มีการบูรณาการศาสตร์ทางด้านวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม ร่วมกับการจัดการภัยพิบัติไว้ด้วยกัน

โลกปัจจุบันมีแนวโนมที่มลพิษถูกปล่อยออกมามากขึ้น จนเป็นเหตุให้เกิดภัยพิบัติบ่อยครั้งและรุนแรงมากขึ้น และเมื่อภัยพิบัติเกิดขึ้น ส่งผลกระทบย้อนกลับสู่สิ่งแวดล้อมเช่นกัน

กฎหมายกำหนดให้ ทุกหน่วยงานที่ปล่อยมลพิษสู่สิ่งแวดล้อมต้องมีวิศวกรสิ่งแวดล้อม

มีความต้องการบุคลากร ทางด้านสิ่งแวดล้อมและภัยพิบัติของทั้งภาครัฐและเอกชนจำนวนมาก

จุดเด่นของบัณฑิตที่จบจากหลักสูตรนี้?

“วิศวกรสิ่งแวดล้อม ที่นอกจากมีความสามารถในการดูแล ออกแบบ และควบคุมระบบบำบัดมลพิษ ทั้งขยะ น้ำเสียและควันพิษแล้ว ยังมีความรู้ความเชี่ยวชาญทางด้านการจัดการภัยพิบัติ เพื่อวางแผนป้องกันและจัดการเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินได้”

4 ปีเรียนรู้อะไร?

วิชาการออกแบบและควบคุมระบบบำบัดมลพิษ (ปี 3 – 4)

สุขาภิบาลอาคาร

การกำจัดขยะมูลฝอย

การจัดการของเสียอันตราย

การออกแบบและควบคุมมลพิษทางอากาศ

วิศวกรรมนำเสียและการออกแบบ

การจัดการระบบสิ่งแวดล้อม

กฎหมายสิ่งแวดล้อม

วิชาการจัดการและเตือนภัยพิบัติ (ปี 3-4 )

การจัดการความเสี่ยงภัยพิบัติและสภาพภูมิอากาศ

การควบคุมภาวะน้ำท่วมและภัยแล้ง

การจัดการทรัพยากรน้ำ

ภูมิสารสนเทศสำหรับวิศวกรรมฯ

การจัดการธรณีพิบัติภัย

สารสนเทศเพื่อการพยากรณ์เตือยภัยพิบัติ

พื้นฐานวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม (ปี 2 – 3)

เคมีสำหรับวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม

ปฏิบัติการนำและนำเสีย

ชีววิทยาสำหรับวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม

หน่วยกระบวนการทางสิ่งแวดล้อม

ปฏิบัติการทางวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม

พื้นฐานวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ (ปี 1-3)

ภัยพิบัติธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

อุตุนิยมวิทยาทั่วไป อุทกวิทยา

วิชาพื้นฐานวิศวกรรม (ปี 2 )

คณิตศาสตร์วิศวกรรม กลศาสตร์

การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์

เขียนแบบวิศวกรรม วัสดุวิศวกรรม

กำลังวัสดุ การสำรวจฯ ชลศาสตร์

ปฏิบัติการชลศาสตร์

วิชาศึกษาทั่วไป

การศึกษาทั่วไปเพื่อการพัฒนามนุษย์

ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร

ภาษาอังกฤษ

จิตวิทยาทั่วไป

สุขภาพและนัทนาการ

วิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ (ปี 1)

แคลคูลัส สมการเชิงอนุพันธ์

ฟิสิกส์ 1-2 ปฏิบัติการฟิสิกส์

เคมี ปฏิบัติการเคมี

จบแล้วทำงานอะไร?

งานทางด้านวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม

จบหลักสูตรนี้มีสิทธิยื่นสอบใบประกอบวิชาชีพ (กว.) สาขาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม

งานเชิงวิศวกรรมออกแบบและระบบควบคุมระบบบำบัดและกำจัดมลพิษ (นำเสีย ขยะ ก๊าซพิษ ฝุ่น)

งานที่ปรึกษาโครงการ วางแผนนโยบาย เกี่ยวกับการควบคุมป้องกันและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม

หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทางด้านวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม ได้แก่ โรงงานอุตสาหกรรม และสถานประกอบการทุกประเทศที่มีการปล่อยของเสียสู่สิ่งแวดล้อม บริษัทเอกชนและที่ปรึกษาในการออกแบบระบบบำบัดมลพิษทั้งน้ำเสีย ขยะ ควันพิษ ฝุ่น หน่วยงานราชการต่าง ๆ เช่น กรมควบคุมมลพิษ กรมแรงงานอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม สำนักสิ่งแสดล้อมกทม. กรมชลประทาน การประปานครหลวง และการประปาส่วนภูมิภาค

งานทางด้านการจัดการภัยพิบัติ

งานเชิงเทคนิคด้านสารสนเทศและการพยากรณ์สภาพภูมิอากาศและภัยธรรมชาติต่าง ๆ

งานเชิงวิศวกรรมออกแบบและระบบควบคุมระบบบำบัดและกำจัดมลพิษ (นำเสีย ขยะ ก๊าซพิษ ฝุ่น)

งานให้คำปรึกษา วางแผนโครงการ และประสานงานชุมชนที่เกี่ยวข้องกับงานด้านภัยพิบัติ

หน่วยงานอิสระ บริษัทที่ปรึกษา องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศ องค์การมหาชน หรือหน่วยงานราชการ เช่น ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ กรมอุตุนิยมวิทยา กรมชลประทาน สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กทม. กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น Asian Disaster Preparedness Center (ADPC)

คำถามที่พบบ่อย?

วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม แตกต่างจาก วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม อย่างไร?

วิศวกรรมสิ่งแวดล้อมมุ่งเน้นให้มีทักษะในการออกแบบ (Design) ควบคุมและปฏิบัติการ ( Control & Operation) ระบบบำบัดมลพิษทางสิ่งแวดล้อมในระดับอุตสาหกรรม แต่วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมจะเน้นทักษะด้านการตรวจวัด (Monitoring) และวิเคราะห์ (Analysis) คุณภาพทางสิ่งแวดล้อมในระดับห้องปฏิบัติการซึ่งก็เป็นพื้นฐานเบื้องต้นที่สำคัญของวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมเช่นกัน

ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ (กว.) วิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมมีประโยชน์อย่างไร?

เป็นใบที่แสดงให้ทราบว่าบุคคลนั้นได้รับอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ได้แก่ งานที่ปรึกษา ออกแบบและควบคุมระบบได้โดยไม่ผิดกฎหมาย สำหรับสาขาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมนั้นสามารถเป็นที่ปรึกษาโครงการด้านวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม เช่น โครงการจัดการขยะ โครงการบำบัดน้ำเสีย อุตสาหกรรมและชุมชน รวมไปถึงงานด้านการออกแบบระบบการผลิตน้ำประปา ระบบดับเพลิงและท่อน้ำภายในอาคาร

เรียนวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมฯ ที่นี่ แตกต่างจากวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมที่อื่นอย่างไร?

หลักสูตรนี้เป็นหลักสูตรแรกและหลักสูตรเดียวในประเทศไทยที่มีการบูรณาการศาสตร์ทางวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมมาผนวกรวมกับความรู้ด้านการจัดการภัยพิบัติ ทำให้นักศึกษามีความโดดเด่นในทักษะเชิงวางแผนและปฏิบัติการเพื่อสามารถจัดการเหตุฉุกเฉินเมื่อเกิดเหตุภัยพิบัติทั้งจากธรรมชาติและมนุษย์ได้ บัณฑิตที่จบไปจึงสามารถทำหน้าที่เป็นทั้งวิศวกรสิ่งแวดล้อมและผู้เชี่ยวชาญด้นการจัดการภัยพิบัติในคนเดียวกันได้

ทำไมต้องเรียนวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและการจัดการภัยพิบัติที่กาญจนบุรี?

เนื่องจากพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรีมีโรงงานอุตสาหกรรมทางด้านอาหาร เกษตรและกระดาษ ทั้งขนาดเล็กและใหญ่ที่มีการปล่อยมลพิษจำพวกนำเสียเป็นจำนวนมาก อีกทั้งยังเป็นพื้นที่เสี่ยงภัยแผ่นดินไหวและดินถล่มที่ตั้งอยู่บนรอยเลื่อนศรีสวัสดิ์และมีเขื่อนขนาดใหญ่ของประเทศตั้งอยู่อีกด้วย ทำให้มีแหล่งเรียนรู้มากมายรอบมหาวิทยาลัย อีกทั้งยังสามารถนำปัญหาของชุมชนท้องถิ่นมาเป็นโจทย์ในงานวิจัยและวิชาการได้อีกด้วย