ระดับ | ปริญญาตรี |
คณะ | วิทยาเขตกาญจนบุุรี |
มคอ.2 หลักสูตรปรับปรุง 2561 | มคอ.2 คลิกที่นี่ (ใช้กับนักศึกษารหัส 61 เป็นต้นไป) |
มคอ.2 หลักสูตรปรับปรุง 2556 | มคอ.2 คลิกที่นี่ (ใช้กับนักศึกษารหัส 55-60) |
แบบรายงานข้อมูลหลักสูตร | Mu Degree Profile |
ชื่อปริญญา
วิทยาศาสตรบัณฑิต (เทคโนโลยีการอาหาร)
ปรัชญา ความสำคัญของหลักสูตร
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (เทคโนโลยีการอาหาร) มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี มุ่งผลิตบัณฑิตให้เป็นคนดี มีความรู้ มีความเป็นผู้นำในทางวิชาการ มีทักษะและมีจริยธรรมในวิชาชีพ สร้างและพัฒนาองค์ความรู้อย่างต่อเนื่อง มีความมุ่งมั่นที่จะรับใช้ชุมชนและสังคม สนองความต้องการทั้งภาครัฐและเอกชน หลักสูตรเทคโนโลยีการอาหาร ใช้การเรียนการสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (Student-centered learning) หลักสูตรฯ เข้าใจในความแตกต่างของการเรียนรู้ของนักศึกษาแต่ละบุคคล คณาจารย์เป็นผู้จัดสรรองค์ความรู้พื้นฐานและกระตุ้นให้นักศึกษาเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง เพื่อให้นักศึกษาจบไปเป็นบัณฑิตที่ตรงตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตร
ประเทศไทยมีการพัฒนาทางด้านอุตสาหกรรมเกษตรอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคอุตสาหกรรมอาหาร เนื่องจากวัตถุดิบทั้งด้านเกษตรกรรมและกสิกรรมที่มีมากมายภายในประเทศ และการมีเทคโนโลยีการผลิตที่ก้าวหน้ามากขึ้น ทำให้อุตสาหกรรมอาหารและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องเติบโตอย่างรวดเร็ว เป็นทั้งผู้ผลิตสำหรับการบริโภคภายในประเทศและการส่งออกไปยังต่างประเทศ ดังนั้นบัณฑิตเทคโนโลยีการอาหารที่มีคุณภาพยังคงเป็นที่ต้องการ ในการเข้าไปเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารของประเทศ โดยทางหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (เทคโนโลยีการอาหาร) มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี นั้น ได้ทำการผลิตบัณฑิตมาแล้ว ๑๒ รุ่น เป็นหลักสูตร ฯ ที่เป็นกำลังสำคัญในการผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพเข้าไปมีบทบาท ในอุตสาหกรรมอาหารของประเทศเสมอมา ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการพัฒนาหลักสูตร ฯ ให้มีความทันสมัยและตรงกับความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่ปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์ของโลก
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
บัณฑิตที่จบจากหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (เทคโนโลยีการอาหาร) มีความรู้และมีทักษะด้านเทคโนโลยีการอาหาร สามารถทำงานในอุตสาหกรรมอาหาร มีคุณธรรมและจริยธรรมในวิชาชีพ มีศักยภาพในการพัฒนาตนเองตลอดชีวิต และมีคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของมหาวิทยาลัยมหิดล
- วัตถุประสงค์ของหลักสูตร (Program Objectives) บัณฑิตที่จบจากหลักสูตรเทคโนโลยีการอาหาร มีความรู้ความสามารถดังนี้
- มีความรู้และทักษะด้านเทคโนโลยีการอาหารเพื่อทำงานในบทบาทนักเทคโนโลยีการอาหารได้
- ทำการทดลองในห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์เพื่อการวิเคราะห์ตรวจสอบคุณภาพอาหาร พื้นฐานได้
- สามารถคิดวิเคราะห์ แก้ปัญหา ค้นคว้า และทำวิจัยเกี่ยวกับเทคโนโลยีการอาหารโดยคำนึงถึง ปัจจัยภายนอกทั้งในระดับประเทศและระดับโลก
- พัฒนาตนเองอยู่เสมอ ค้นคว้าหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือโดยใช้ เทคโนโลยีที่เหมาะสม
- มีทัศนคติที่ดีต่อการทำงาน มีความรับผิดชอบในหน้าที่ต่อตนเองและต่อสังคม และทำงาน ร่วมกับผู้อื่นได้
- มีคุณธรรมและจริยธรรมในการทำงาน
- สามารถสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพกับบุคคลในหลากหลายระดับ
- ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตร (Program–level Learning Outcomes: PLOs)
- ประยุกต์ใช้ความรู้และทักษาะด้านเทคโนโลยีการอาหารและศาสตร์ที่เกี่ยวข้องในการทำงานในบทบาทของนักเทคโนโลยีทางอาหารในอุตสาหกรรมอาหาร เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์อาหารที่ปลอดภัยและเป็นไปตามมาตรฐานอาหารที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
Apply knowledge and skill in food technology and related field to work as a food technologist for producing safe food products in the food industry by meeting the constantly changing food regulatory standards - ทำการวิเคราะห์คุณภาพพื้นฐานของอาหารด้วยเทคนิคทางห้องปฏิบัติการที่เหมาะสม โดยอาศัยการปฏิบัติตามวิธีการที่กำหนดอย่างซื่อสัตย์และคำนึงถึงการใช้ทรัพยากรในห้องปฏิบัติการอย่างคุ้มค่า
Analyze basic food qualities using appropriate laboratory techniques following best ethical laboratory practices and effectively utilizing laboratory resources - ดำเนินงานวิจัยในด้านเทคโนโลยีการอาหารเพื่อการแก้ปัญหาหรือเพื่อการพัฒนา ตามการเปลี่ยนแปลงด้านสภาวะเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะในระดับชุมชน ระดับชาติ หรือระดับโลก โดยอาศัยกระบวนการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่เหมาะสม มีจริยธรรมที่ดี และแสดงออกถึงความต้องการที่จะพัฒนางานวิจัยให้ดีขึ้น
Conduct research in food technology related to troubleshooting or product development to address current challenges in food industries at local, national, and global levels based on economic, societal, and environmental conditions, using appropriate scientific research methodology, and working with good ethics - สื่อสารทั้งด้านการพูดและเขียนกับบุคคลกลุ่มต่าง ๆ ในบทบาทนักเทคโนโลยีการอาหารทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยวิธีการที่เหมาะสม
Convey clear message with appropriate methods in oral and written communication in Thai and English with an audience possessing varying degrees of food technology knowledge - ทำงานเป็นทีมทั้งในฐานะผู้นำหรือสมาชิกของกลุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อส่งเสริมความร่วมมือที่ดี
Work effectively as a team leader or a team member to promote good collaborative working environment
- ประยุกต์ใช้ความรู้และทักษาะด้านเทคโนโลยีการอาหารและศาสตร์ที่เกี่ยวข้องในการทำงานในบทบาทของนักเทคโนโลยีทางอาหารในอุตสาหกรรมอาหาร เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์อาหารที่ปลอดภัยและเป็นไปตามมาตรฐานอาหารที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
แนวทางการประกอบอาชีพ
บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาสาขาเทคโนโลยีการอาหารสามารถประกอบอาชีพที่น่าสนใจ ดังนี้
1. ทำงานในบทบาทนักเทคโนโลยีการอาหาร ไม่ว่าจะเป็น ฝ่ายผลิต ฝ่ายควบคุมและตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์ หรือฝ่ายพัฒนาและวิจัยในอุตสาหกรรมอาหารหรือที่เกี่ยวข้อง ทั้งในโรงงานอุตสาหกรรม ห้องปฏิบัติการ และสำนักงาน
2. ทำงานในบทบาทนักวิชาการ เช่น เจ้าหน้าที่ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องทั้งในภาครัฐและเอกชน เป็นต้น
โครงสร้างหลักสูตร
โครงสร้างหลักสูตร ปรับปรุง 2561
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร : 140 หน่วยกิต
หมวดวิชาศึกษาทั่วไป | 30 หน่วยกิต |
กลุ่มวิชาที่มหาวิทยาลัยกำหนด | |
1.กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ | 7 หน่วยกิต |
2.กลุ่มวิชาภาษา | 9 หน่วยกิต |
กลุ่มมวิชาที่หลักสูตรกำหนด | |
1.กกลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ | 3 หน่วยกิต |
2.กลุ่มวิชาภาษา | 3 หน่วยกิต |
3.กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ | 7 หน่วยกิต |
4.กลุ่มวิชาสุขภาพและนันทนาการ | 1 หน่วยกิต |
หมวดวิชาเฉพาะ | 104 หน่วยกิต |
1.กลุ่มวิชาบังคับ | 95 หน่วยกิต |
2.กลุ่มวิชาเลือก | 9 หน่วยกิต |
หมวดวิชาเลือกเสรี | 6 หน่วยกิต |
โครงสร้างหลักสูตร ปรับปรุง 2556
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร : 145 หน่วยกิต
หมวดวิชาศึกษาทั่วไป | 31 หน่วยกิต |
กลุ่มวิชาที่มหาวิทยาลัยกำหนด | |
1.กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ | 7 หน่วยกิต |
2.กลุ่มวิชาภาษา | 9 หน่วยกิต |
กลุ่มมวิชาที่หลักสูตรกำหนด | |
1.กกลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ | 3 หน่วยกิต |
2.กลุ่มวิชาภาษา | 3 หน่วยกิต |
3.กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ | 9 หน่วยกิต |
หมวดวิชาเฉพาะ | |
1.กลุ่มวิชาบังคับ | 99 หน่วยกิต |
2.กลุ่มวิชาเลือก | 9 หน่วยกิต |
หมวดวิชาเลือกเสรี | 6 หน่วยกิต |
รายวิชาในหลักสูตร
หมวดวิชาศึกษาทั่วไป | 30 หน่วยกิต |
กลุ่มวิชาที่มหาวิทยาลัยกำหนด | |
1.กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ | 7 หน่วยกิต |
มมศท 101 การศึกษาทั่วไปเพื่อการพัฒนามนุษย์ | 2 หน่วยกิต |
มมศท 102 สังคมศึกษาเพื่อการพัฒนามนุษย์ | 3 หน่วยกิต |
มมศท 103 ศิลปวิทยาการเพื่อการพัฒนามนุษย์ | 2 หน่วยกิต |
2.กลุ่มวิชาภาษา | 9 หน่วยกิต |
2.1. วิชาภาษาไทย | 3 หน่วยกิต |
ศศภท 100 ศิลปะการใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร | 3 หน่วยกิต |
2.1. วิชาอังกฤษ | 6 หน่วยกิต |
ศศภอ 103 ภาษาอังกฤษระดับ 1 | 3 หน่วยกิต |
ศศภอ 104 ภาษาอังกฤษระดับ 2 | 3 หน่วยกิต |
ศศภอ 105 ภาษาอังกฤษระดับ 3 | 3 หน่วยกิต |
ศศภอ 106 ภาษาอังกฤษระดับ 4 | 3 หน่วยกิต |
กลุ่มมวิชาที่หลักสูตรกำหนด | 14 หน่วยกิต |
1.กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ | 3 หน่วยกิต |
ศศพฐ 146 การพัฒนาบุคลิกภาพ | 3 หน่วยกิต |
2.กลุ่มวิชาภาษา | 3 หน่วยกิต |
กญสห 240 ภาษาอังกฤษสำหรับการสื่อสารองค์กร | 3 หน่วยกิต |
กญสห 242 ภาษาอังกฤษเพื่อการเขียนและนำเสนอโครงการ | 3 หน่วยกิต |
กญสห 243 ภาษาอังกฤษเพื่องานวิจัย | 3 หน่วยกิต |
3.กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ | 7 หน่วยกิต |
กญสห 272 การประยุกต์ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ | 2 หน่วยกิต |
กญทอ 101 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหารเบื้องต้น | 2 หน่วยกิต |
กญสห 370 การวางแผนการทดลอง | 3 หน่วยกิต |
4.กลุ่มวิชาสุขภาพและนันทนากร | 1 หน่วยกิต |
วกศท xxx รายวิชากลุ่มสุขภาพและนันทนากร | 1 หน่วยกิต |
หมวดวิชาเฉพาะ 104 หน่วยกิต | |
1.กลุ่มวิชาบังคับ | 95 หน่วยกิต |
วทคม 103 เคมีทั่วไป 1 | 3 หน่วยกิต |
วทคม 104 เคมีทั่วไป 2 | 3 หน่วยกิต |
วทคม 107 ปฏิบัติการเคมีทั่วไป | 1 หน่วยกิต |
กญสห 220 เคมีอินทรีย์เบื้องต้น | 3 หน่วยกิต |
กญสห 221 ปฏิบัติการเคมีอินทรีย์ | 1 หน่วยกิต |
กญสห 222 เคมีวิเคราะห์ | 2 หน่วยกิต |
กญสห 223 ปฏิบัติการเคมีวิเคราะห์ | 1 หน่วยกิต |
กญทอ 210 เคมีเชิงฟิสิกส์ | 2 หน่วยกิต |
กญสห 200 ชีวเคมีพื้นฐาน | 3 หน่วยกิต |
กญสห 201 ปฏิบัติการชีวเคมีพื้นฐาน | 1 หน่วยกิต |
วทฟส 167 ฟิสิกส์สำหรับวิทยาศาสตร์ประยุกต์ 1 | 3 หน่วยกิต |
วทฟส 110 ปฏิบัติการฟิสิกส์ทั่วไป | 1 หน่วยกิต |
วทฟส 168 ฟิสิกส์สำหรับวิทยาศาสตร์ประยุกต์ 2 | 3 หน่วยกิต |
วทคณ 111 แคลคูลัส | 2 หน่วยกิต |
วทคณ 166 สมการเชิงอนุพันธ์สามัญ | 3 หน่วยกิต |
กญสห 270 สถิติศาสตร์ขั้นแนะนำ | 2 หน่วยกิต |
วทชว 124 ชีววิทยาทั่วไป 1 | 2 หน่วยกิต |
วทชว 102 ปฏิบัติการหลักชีววิทยา 1 | 1 หน่วยกิต |
กญทอ 242 จุลชีววิทยาทั่วไป | 3 หน่วยกิต |
กญทอ 244 ปฏิบัติการจุลชีววิทยาทั่วไป | 1 หน่วยกิต |
กญทอ 213 การเขียนแบบวิศวกรรม | 1 หน่วยกิต |
กญทอ 215 วิศวกรรมอาหาร 1 | 3 หน่วยกิต |
กญทอ 315 วิศวกรรมอาหาร 2 | 3 หน่วยกิต |
กญทอ 237 การแปรรูปอาหาร 1 | 4 หน่วยกิต |
กญทอ 337 การแปรรูปอาหาร 2 | 4 หน่วยกิต |
กญทอ 320 เคมีอาหาร 1 | 3 หน่วยกิต |
กญทอ 324 เคมีอาหาร 2 | 2 หน่วยกิต |
กญทอ 325 การวิเคราะห์อาหาร | 4 หน่วยกิต |
กญทอ 352 กฎ ข้อบังคับและมาตรฐานผลิตภัณฑ์อาหาร | 2 หน่วยกิต |
กญทอ 353 ความปลอดภัยในอาหารและสุขลักษณะ | 3 หน่วยกิต |
กญทอ 354 หลักการควบคุมคุณภาพและการประกันคุณภาพ | 3 หน่วยกิต |
กญทอ 355 การทดสอบทางประสาทสัมผัส | 2 หน่วยกิต |
กญทอ 342 จุลชีววิทยาทางอาหาร 1 | 3 หน่วยกิต |
กญทอ 343 จุลชีววิทยาทางอาหาร 2 | 3 หน่วยกิต |
กญทอ 356 อาหารและโภชนาการ | 3 หน่วยกิต |
กญทอ 451 การศึกษาอายุการเก็บรักษาของผลิตภัณฑ์อาหาร | 2 หน่วยกิต |
กญทอ 452 การพัฒนาผลิตภัณฑ์ | 3 หน่วยกิต |
กญทอ 454 ทัศนศึกษาชมโรงงาน | 1 หน่วยกิต |
กญทอ 455 สัมมนา | 2 หน่วยกิต |
กญทอ 493 การฝึกปฏิบัติงานในโรงงาน | 2 หน่วยกิต |
กญทอ 494 โครงการพิเศษ *สำหรับแผนการศึกษา ก | 4 หน่วยกิต |
กญทอ 495 สหกิจศึกษา **สำหรับแผนการศึกษา ข | 6 หน่วยกิต |
2.กลุ่มวิชาเลือก | 9 หน่วยกิต |
กญทอ 460 เทคโนโลยีผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์บกและสัตว์น้ำ | 3 หน่วยกิต |
กญทอ 482 เทคโนโลยีธัญพืชและแป้ง | 3 หน่วยกิต |
กญทอ 470 เทคโนโลยีบรรภัณฑ์อาหาร | 3 หน่วยกิต |
กญทอ 466 การกำจัดและการใช้ประโยชน์จากของเสีย | 3 หน่วยกิต |
กญทอ 480 เทคโนโลยีการหมักอาหาร | 3 หน่วยกิต |
กญทอ 483 เทคโนโลยีนมและผลิตภัณฑ์นม | 3 หน่วยกิต |
หมวดวิชาเลือกเสรี | 6 หน่วยกิต |