วิทยาศาสตรบัณฑิต

(ธรณีศาสตร์)

ระดับ ปริญญาตรี
คณะ วิทยาเขตกาญจนบุุรี
มคอ.2 หลักสูตรปรับปรุง 2561 มคอ.2 คลิกที่นี่ (ใช้กับนักศึกษารหัส 61 เป็นต้นไป)
มคอ.2 หลักสูตรปรับปรุง 2556 มคอ.2 คลิกที่นี่ (ใช้กับนักศึกษารหัส 55-60)
แบบรายงานข้อมูลหลักสูตร Mu Degree Profile
ชื่อปริญญา

วิทยาศาสตรบัณฑิต (ธรณีศาสตร์)

ปรัชญา ความสำคัญของหลักสูตร

หลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต (ธรณีศาสตร์) มุ่งสร้างบัณฑิตให้เป็นคนดี มีความรู้และมีทักษะด้านธรณีวิทยา โดยหลักสูตรเน้นการจัดการเรียนการสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

(Student-centered learning) ส่งเสริมประสบการณ์การเรียนรู้ และบูรณาการณ์ความรู้ทางธรณีศาสตร์เชื่อมโยงกับความรู้ทางสังคมศาสตร์และเศรษฐศาสตร์ มีคุณธรรมจริยธรรม และมีเจตคติอันดีงามในการประกอบวิชาชีพ สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตาม มีการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองและการเรียนรู้ตลอดชีวิต และมีความเชี่ยวชาญด้านการปฏิบัติงานภาคสนามตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพตามมาตรฐานของมหาวิทยาลัย (MU Graduates) 4 ด้าน คือ มีความรู้ความสามารถทางวิชาการและวิชาชีพทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ (Breadth & Depth) สามารถคิด วิเคราะห์ และการบูรณาการอย่างเป็นระบบ (Entrepreneurially Minded and Socially Contributing) และสามารถประกอบอาชีพในสาขาธรณีได้ทั่วโลกตามที่ผู้ใช้บัณฑิตต้องการ (Globally Talented)

  1. วัตถุประสงค์ของหลักสูตร (Program Objectives)
    1. มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพ เห็นความสำคัญของประโยชน์ต่อส่วนรวม และอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
    2. มีความรู้ทางธรณีศาสตร์และสาขาที่เกี่ยวข้องกับโลกศาสตร์เป็นอย่างดี
    3. สามารถคิด วิเคราะห์ วางแผน และนำความรู้ทางธรณี มาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานภาคสนาม และการประกอบอาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ
    4. มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นและสายงานที่เกี่ยวข้องได้
    5. ประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศ และเทคโนโลยีด้านธรณี มาใช้กับงานธรณีหรืองานที่เกี่ยวข้องได้อย่างเหมาะสม
  2. ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตร (Program–level Learning Outcomes: PLOs)
    1. สามารถจัดทำแผนที่ธรณีวิทยาและประเมินทรัพยากรธรณี รวมถึงคุณลักษณะและกระบวนการทางธรณีวิทยาโดยใช้เทคนิคที่เหมาะสม (สำหรับสังคมและเศรษฐกิจ)
      Able to produced geologic map and evaluate geologic materials, features and process by useing appropriate techniques (for social and economic)
    2. สามารถบูรณาการความรู้ด้านธรณีวิทยาและวิธีการต่างๆเพื่อตอบปัญหาปัจจุบันได้
      Integrate geosciences and comprehensive range of knowledge and methods to answer current problems.
    3. สามารถสร้างแบบจำลองทางธรณีวิทยาเพื่ออธิบายปรากฏการณ์โลกต่าง ๆ โดยรวมข้อมูลทางธรณีวิทยารวมถึง แผนที่ ภาพตัดขวาง ภาพถ่ายทางอากาศและภาพจากดาวเทียม
      Construct geologic models to explain earth phenomena by integrating geological data, including maps, cross-sections, aerial photographs and satellite imagery.
    4. สามารถแสดงให้เห็นถึงความรู้พื้นฐานและทักษะทางธรณีวิทยาและสามารถประยุกต์ใช้ความรู้พื้นฐานและเทคนิคในการสื่อสารแนวคิดธรณีวิทยาได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อสาธารณชน
      Demonstrate fundamental knowledge and skills in geosciences and able to apply basic and technical knowledge to communicate geoscience concepts effectively to the public.
    5. มีทักษะการบริหารจัดการในการทำงานอย่างมีคุณธรรมจริยธรรมตามคุณลักษณะของนักธรณีวิทยาที่ดีและมีลักษณะการเรียนรู้ตลอดชีวิต
      Demonstrate professional work ethics and possess management skills and have with a life-long learning trait.
แนวทางการประกอบอาชีพ

อาชีพในสายงานธรณีวิทยา ตามที่มาตรฐานวิชาชีพระบุไว้ ของทุกองค์กรทั้งภาครัฐฯและเอกชนในตำแหน่ง ดังนี้
– นักธรณีวิทยา
– Geo-physicist
– Geo-chemists
– Hydrogeologists
– Engineering geologists
– Mining geologists
– Mineralogists
– Environmental geologists
และตำแหน่งเกี่ยวข้อง เช่น นักสำรวจ นักธรณีเทคนิค เป็นต้น

null
null

null
null

null
null

null
null

null
null

โครงสร้างหลักสูตร

 โครงสร้างหลักสูตร ปรับปรุง 2561

จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร : 140 หน่วยกิต

หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 30 หน่วยกิต
กลุ่มวิชาที่มหาวิทยาลัยกำหนด 16 หน่วยกิต
    1.กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
7 หน่วยกิต
    2.กลุ่มวิชาภาษา
9 หน่วยกิต
กลุ่มมวิชาที่หลักสูตรกำหนด 14 หน่วยกิต
หมวดวิชาเฉพาะ 104 หน่วยกิต
    1.กลุ่มวิชาแกน
29 หน่วยกิต
    2.กลุ่มวิชาเฉพาะด้าน
66 หน่วยกิต
    3.กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ
9 หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต

โครงสร้างหลักสูตร ปรับปรุง 2556

จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร : 140 หน่วยกิต

หมวดวิชา หน่วยกิต
1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 30
    กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
13
    กลุ่มวิชาภาษา
12
    กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
2
    กลุ่มวิชาสุขภาพและนันทนาการ
3
2. หมวดวิชาเฉพาะ 104
    กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
28
    กลุ่มวิชาเฉพาะ(บังคับ)
67
    กลุ่มวิชาเฉพาะ(บังคับเลือก)
9
3. หมวดวิชาเลือกเสรี 6
รวมหน่วยกิตทั้งหมดตลอดหลักสูตร 140
รายวิชาในหลักสูตร
หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 30 หน่วยกิต
กลุ่มมวิชาที่มหาวิทยาลัยกำหนด 16 หน่วยกิต
1.กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ 7 หน่วยกิต
มมศท 101 การศึกษาทั่วไปเพื่อการพัฒนามนุษย์ 2 หน่วยกิต
มมศท 102 สังคมศึกษาเพื่อการพัฒนามนุษย์ 3 หน่วยกิต
มมศท 103 ศิลปวิทยาการเพื่อการพัฒนามนุษย์ 2 หน่วยกิต
2.กลุ่มวิชาภาษา 9 หน่วยกิต
ศศภท 100 ศิลปะการใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร 3 หน่วยกิต
ศศภอ 103 ภาษาอังกฤษระดับ 1 3 หน่วยกิต
ศศภอ 104 ภาษาอังกฤษระดับ 2 3 หน่วยกิต
ศศภอ 105 ภาษาอังกฤษระดับ 3 3 หน่วยกิต
ศศภอ 106 ภาษาอังกฤษระดับ 4 3 หน่วยกิต
กลุ่มมวิชาที่หลักสูตรกำหนด 14 หน่วยกิต
1.กลุ่มวิชาภาษา
2.กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์
3.กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
4.กลุ่มวิชาสุขภาพและนันทนาการ
กญสห 242 ภาษาอังกฤษเพื่อการเขียนและนำเสนอโครงงาน 3 หน่วยกิต
กญศท 260 การบริหารและการจัดการองค์การ 3 หน่วยกิต
กญศท 101 สหวิทยาการเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน 3 หน่วยกิต
กญสห 260 คณิตศาสตร์สำหรับวิทยาศาสตร์โลก 2 หน่วยกิต
สวศท 106 ชีวิตและสุขภาพกับการฝึกโยคะ 3 หน่วยกิต
3.หมวดวิชาเฉพาะ 104 หน่วยกิต
กลุ่มวิชาแกน 29 หน่วยกิต
กญสห 270 สถิติขั้นแนะนำ 2 หน่วยกิต
วทคณ 111 แคลคูลัส 2 หน่วยกิต
วทคณ 166 สมการเชิงอนุพันธ์สามัญ 3 หน่วยกิต
วทคม 103 เคมีทั่วไป 1 2 หน่วยกิต
วทคม 118 ปฏิบัติการเคมีทั่วไป 1 1 หน่วยกิต
วทคม 104 เคมีทั่วไป 2 3 หน่วยกิต
วทคม 107 ปฏิบัติการเคมีทั่วไป 2 1 หน่วยกิต
วทชว 124 ชีววิทยาทั่วไป 1 2 หน่วยกิต
วทชว 102 ปฏิบัติการชีววิทยา 1 1 หน่วยกิต
วทชว 125 ชีววิทยาทั่วไป 2 3 หน่วยกิต
วทชว 104 ปฏิบัติการชีววิทยา 2 1 หน่วยกิต
วทฟส 167 ฟิสิกส์สำหรับวิทยาศาสตร์ประยุกต์ 1 3 หน่วยกิต
วทฟส 168 ฟิสิกส์สำหรับวิทยาศาสตร์ประยุกต์ 2 3 หน่วยกิต
วทฟส 110 ปฏิบัติการฟิสิกส์ทั่วไป 1 หน่วยกิต
กลุ่มวิชาเฉพาะด้าน (พื้นฐานวิชาชีพ) 66 หน่วยกิต
กญธศ 100 ธรณีวิทยารอบตัว 1 1 หน่วยกิต
กญธศ 200 ธรณีวิทยากายภาพ 2 2 หน่วยกิต
กญธศ 202 ภาพถ่ายทางอากาศ การรับรู้ระยะไกล และธรณีสัณฐานวิทยา 3 หน่วยกิต
กญธศ 203 การเขียนรายงานทางธรณีวิทยา 1 หน่วยกิต
กญธศ 212 ปฏิบัติการผลึกศาสตร์และวิทยาแร่ 1 หน่วยกิต
กญธศ 214 ปฏิบัติการศิลาวรรณนาและจุลทรรศนศาสตร์1 ทางแร่ 1 หน่วยกิต
กญธศ 215 ผลึกศาสตร์และวิทยาแร่ 2 หน่วยกิต
กญธศ 216 ศิลาวรรณนาและจุลทรรศน์ศาสตร์ทางแร่ 2 หน่วยกิต
กญธศ 221 ตะกอนวิทยาและการลำดับชั้นหิน 2 หน่วยกิต
กญธศ 222 การลำดับชั้นหิน 2 หน่วยกิต
กญธศ 223 วิทยาหิน 2 หน่วยกิต
กญธศ 224 ระเบียบวิธีการวาด ภาคสนามและการเขียนรายงานทางธรณีวิทยา 2 หน่วยกิต
กญธศ 231 บรรพชีวินวิทยา 2 หน่วยกิต
กญธศ 232 ปฏิบัติการบรรพชีวินวิทยา 1 หน่วยกิต
กญธศ 261 ธรณีวิทยาภูมิภาค 1 หน่วยกิต
กญธศ 260 ปฏิบัติงานธรณีวิทยาภูมิภาค 3 หน่วยกิต
กญธศ 301 ธรณีวิทยาโครงสร้าง 3 หน่วยกิต
กญธศ 302 ปฏิบัติการธรณีวิทยาโครงสร้าง 1 หน่วยกิต
กญธศ 304 ธรณีแปรสัณฐาน 2 หน่วยกิต
กญธศ 305 ธรณีภัยพิบัติ 2 หน่วยกิต
กญธศ 306 คอมพิวเตอร์ในงานธรณีวิทยา 1 หน่วยกิต
กญธศ 307 ธรณีวิทยาประเทศไทย 2 หน่วยกิต
กญธศ 308 ธรณีวิทยาเศรษฐศาสตร์และธรณีวิทยาแหล่งแร่ 2 หน่วยกิต
กญธศ 311 ศิลาวิทยา 2 หน่วยกิต
กญธศ 312 ปฏิบัติการศิลาวิทยา 1 หน่วยกิต
กญธศ 351 ธรณีฟิสิกส์ 2 หน่วยกิต
กญธศ 352 ปฏิบัติการธรณีฟิสิกส์ 1 หน่วยกิต
กญธศ 353 อุทกธรณีวิทยา 3 หน่วยกิต
กญธศ 354 ธรณีวิทยาปิโตรเลียมและทรัพยากรพลังงาน 3 หน่วยกิต
กญธศ 355 ธรณีเคมี 2 หน่วยกิต
กญธศ 360 ปฏิบัติงานธรณีวิทยาภาคสนาม 4 หน่วยกิต
กญธศ 391 สัมมนา 1 2 หน่วยกิต
กญธศ 461 การฝึกงานด้านธรณีศาสตร์ 2 หน่วยกิต
กญธศ 490 โครงงานทางธรณีศาสตร์ 2 หน่วยกิต
กญธศ 493 สัมมนา 2 1 หน่วยกิต
กลุ่มวิชาเฉพาะด้านธรณี (วิชาเลือก) 9 หน่วยกิต
กญธศ 370 ธรณีวิทยายุคควอเทอร์นารี 2 หน่วยกิต
กญธศ 380 ดาราศาสตร์เบื้องต้น 3 หน่วยกิต
กญธศ 470 ธรณีวิทยาภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 3 หน่วยกิต
กญธศ 471 อัญมณีวิทยา 3 หน่วยกิต
กญธศ 472 การท่องเที่ยวเชิงธรณีวิทยา 3 หน่วยกิต
กญธศ 473 ธรณีวิทยาเชิงวิศวกรรม 3 หน่วยกิต
กญธศ 474 ธรณีศาสตร์กับการจัดการจัดการสิ่งแวดล้อม 3 หน่วยกิต
กญธศ 475 ศิลาวิทยาหินตะกอน 3 หน่วยกิต
กญธศ 476 ศิลาวิทยาหินอัคนีและหินแปร 3 หน่วยกิต
กญธศ 477 ธรณีฟิสิกส์โลก 3 หน่วยกิต
กญธศ 478 ธรณีฟิสิกส์ปิโตรเลียม 3 หน่วยกิต
กญธศ 479 ธรณีฟิสิกส์วิศวกรรมและสิ่งแวดล้อม 3 หน่วยกิต
กญธศ 482 ปฐพีวิทยาและธรณีวิทยาเพื่อการเกษตร 3 หน่วยกิต
กญธศ 484 การวิเคราะห์แอ่งสะสมตะกอน 3 หน่วยกิต
กญธศ 492 โครงงานทางธรณีศาสตร์ 2 2 หน่วยกิต
หมวดวิชาเสรี 6 หน่วยกิต