ระดับ | ปริญญาตรี |
คณะ | วิทยาเขตกาญจนบุุรี |
มคอ.2 หลักสูตรปรับปรุง 2561 | มคอ.2 คลิกที่นี่ (ใช้กับนักศึกษารหัส 61 เป็นต้นไป) |
มคอ.2 หลักสูตรปรับปรุง 2556 | มคอ.2 คลิกที่นี่ (ใช้กับนักศึกษารหัส 55-60) |
แบบรายงานข้อมูลหลักสูตร | Mu Degree Profile |
Conservation Biology,Mahidol University |
ชื่อปริญญา
วิทยาศาสตรบัณฑิต (ชีววิทยาเชิงอนุรักษ์)
ปรัชญา ความสำคัญของหลักสูตร
จัดการเรียนรู้โดยส่งเสริมผู้เรียนให้สามารถพัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง สืบเสาะหาความรู้โดยกระบวนการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ คิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ มีเหตุผล เป็นบัณฑิตที่มีทักษะและความรู้ทางชีววิทยาเชิงอนุรักษ์ที่ทันสมัยเป็นสากล สามารถเชื่อมโยงหาแนวทางแก้ปัญหาความหลากหลายทางชีวภาพที่เป็นปัญหาที่มีบริบทเฉพาะของแต่ละพื้นที่และชุมชนได้ ด้วยการมีมุมมองที่เปิดกว้าง เชื่อมโยงทั้งวิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ และเศรษฐศาสตร์ อย่างสอดคล้องกับแนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
- วัตถุประสงค์ของหลักสูตร (Program Objectives) มุ่งส่งเสริมและพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนให้เมื่อสำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรชีววิทยาเชิงอนุรักษ์จะเป็นบัณฑิตที่มีความสามารถ ดังนี้
- วิเคราะห์ปัญหาความหลากหลายทางชีวภาพโดยอาศัยความรู้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ เชื่อมโยงกับบริบททางเศรษฐกิจ สังคม
- พัฒนาแผนการจัดการอนุรักษ์ และดำเนินโครงงานวิจัยด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และการจัดการแบบปรับตัว เพื่อแก้ปัญหาความหลากหลายทางชีวภาพ อย่างสอดคล้องกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน
- ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่เหมาะสม เพื่อสนับสนุนการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ
- ทำงานร่วมกับผู้อื่น ทั้งในฐานะที่เป็นผู้ร่วมทีมและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ ด้วยความรับผิดชอบ มีคุณธรรม และบนพื้นฐานของการเคารพสิทธิของผู้อื่น
- ตระหนักรู้และพร้อมมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ
- ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตร (Program–level Learning Outcomes: PLOs)
- วิเคราะห์คุณค่า สถานภาพ แนวโน้ม และภัยคุกคาม ของความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อนำไปสู่การติดตามการเปลี่ยนแปลงและการแก้ไขปัญหาความหลากหลายทางชีวภาพ
- เชื่อมโยงความรู้ทางวิทยาศาสตร์ กับสังคมศาสตร์และเศรษฐศาสตร์ที่มีความเกี่ยวข้องเข้าด้วยกัน เพื่อการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพและการพัฒนาอย่างยั่งยืน
- ออกแบบแผนการจัดการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพที่มีการกำหนดเทคนิค/วิธีการ/แนวทางปฏิบัติในการแก้ปัญหาที่มีความเหมาะสมสอดคล้องกับบริบทของปัญหาและเงื่อนไขของการดำเนินงาน
- พัฒนาและดำเนินโครงงานวิจัยอย่างเป็นระบบด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อป้องกัน/แก้ไข/บรรเทาปัญหาที่เกี่ยวข้องกับความหลากหลายทางชีวภาพ
- ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสนับสนุนการจัดการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีคุณธรรมและจริยธรรม
- ใช้การสื่อสารที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพสอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลายในการสนับสนุนการจัดการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ
- ทำงานร่วมกับสมาชิกในทีมและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ ด้วยความรับผิดชอบ มีคุณธรรม และเคารพในสิทธิของผู้อื่น
- แสดงออกซึ่งทัศนคติที่ดีต่อการมีส่วนร่วมในการใส่ใจดูแลความหลากหลายทางชีวภาพทั้งในท้องถิ่นและสากล
แนวทางการประกอบอาชีพ
เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วบัณฑิตสามารถประกอบอาชีพโดยตรงได้ดังต่อไปนี้
1. ผู้ช่วยวิจัย/นักวิจัย/นักวิทยาศาสตร์/นักวิชาการ/เจ้าหน้าที่ให้ข้อมูลความรู้ โดยทำงานได้ทั้งในฐานะผู้ปฏิบัติงานและผู้ประสานงานของโครงการเกี่ยวกับการจัดการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ การจัดการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และการพัฒนาอย่างยั่งยืน
2. เจ้าหน้าที่ฝ่ายกิจกรรมด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมขององค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน
3. ประกอบธุรกิจหรือธุรกิจเพื่อสังคม (social enterprise) ที่มีความเป็นมิตรต่อระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม และมุ่งหวังการพัฒนาอย่างยั่งยืน
นอกจากนี้บัณฑิตยังสามารถประกอบอาชีพอื่นๆ ได้หลังจากที่มีการฝึกอบรมและสอบใบอนุญาต หรือศึกษาต่อในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพเพิ่มเติม เช่น ครู อาจารย์ นักวิเคราะห์และประเมินสภาพสิ่งแวดล้อม มัคคุเทศก์
สำหรับการศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษา (ปริญญาโท/เอก) บัณฑิตสามารถศึกษาต่อโดยตรงทางด้านที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ชีววิทยา การจัดการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ ระบบนิเวศ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หรือสามารถศึกษาต่อโดยนำชีววิทยาเชิงอนุรักษ์ไปประยุกต์ใช้ด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน ศึกษาศาสตร์ สิ่งแวดล้อมศึกษา ธุรกิจเพื่อสังคม หรือตามความสนใจและศักยภาพในการประยุกต์ใช้งานของบัณฑิต
โครงสร้างหลักสูตร
โครงสร้างหลักสูตร ปรับปรุง 2561
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร : 136 หน่วยกิต
หมวดวิชา | หน่วยกิต |
1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป | 30 |
|
12 |
|
15 |
|
3 |
2. หมวดวิชาเฉพาะ | 100 |
2.1 กลุ่มวิชาแกนพื้นฐานวิทยาศาสตร์ | 27 |
|
6 |
|
7 |
|
7 |
|
7 |
2.2 กลุ่มวิชาแกน (พื้นฐานทางชีววิทยา) | 16 |
|
4 |
|
4 |
|
4 |
|
4 |
2.3 กลุ่มวิชาเฉพาะด้าน | 57 |
กลุ่มวิชาเฉพาะด้าน (บังคับ) | 48 |
กลุ่มวิชาเฉพาะด้าน (เลือก) | 9 |
3. หมวดวิชาเลือกเสรี | 6 |
รวมหน่วยกิตทั้งหมดตลอดหลักสูตร | 136 |
โครงสร้างหลักสูตร ปรับปรุง 2556
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร : 140 หน่วยกิต
หมวดวิชา | หน่วยกิต |
1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป | 30 |
|
12 |
|
15 |
|
3 |
2. หมวดวิชาเฉพาะ | 104 |
2.1 กลุ่มวิชาแกน | 40 |
|
7 |
|
15 |
|
11 |
|
7 |
2.2 กลุ่มวิชาบังคับ | 52 |
2.3 วิชาเลือก | 12 |
3. หมวดวิชาเลือกเสรี | 6 |
รวมหน่วยกิตทั้งหมดตลอดหลักสูตร | 140 |
รายวิชาในหลักสูตร
1.หมวดวิชาศึกษาทั่วไป | 30 หน่วยกิต |
1.1.กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ | 12 หน่วยกิต |
มมศท 101 การศึกษาทั่วไปเพื่อการพัฒนามนุษย์ | 2 หน่วยกิต |
มมศท 102 สังคมศึกษาเพื่อการพัฒนามนุษย์ | 3 หน่วยกิต |
มมศท 103 ศิลปะวิทยาการเพื่อการพัฒนามนุษย์ | 2 หน่วยกิต |
กญศท 101 สหวิทยาการเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน | 3 หน่วยกิต |
สมสค 161 นโยบายและการวางแผน | 2 หน่วยกิต |
1.2.กลุ่มวิชาภาษา | 15 หน่วยกิต |
ศศภท 100 ศิลปะการใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร | 3 หน่วยกิต |
ศศภอ 103 ภาษาอังกฤษระดับ 1 | 3 หน่วยกิต |
ศศภอ 104 ภาษาอังกฤษระดับ 2 | 3 หน่วยกิต |
ศศภอ 105 ภาษาอังกฤษระดับ 3 | 3 หน่วยกิต |
ศศภอ 106 ภาษาอังกฤษระดับ 4 | 3 หน่วยกิต |
กญสห 242 ภาษาอังกฤษเพื่อการเขียนและนำเสนอโครงการ | 3 หน่วยกิต |
กญสห 243 ภาษาอังกฤษเพื่องานวิจัย | 3 หน่วยกิต |
1.3.กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ | 3 หน่วยกิต |
กญศท 261 การจัดการสารสนเทศและการประยุกต์ใช้งานคอมพิวเตอร์ | 3 หน่วยกิต |
2.หมวดวิชาเฉพาะ | 100 หน่วยกิต |
2.1. วิชาแกนพื้นฐาน | 43 หน่วยกิต |
วิชาแกนพื้นฐานคณิตศาสตร์ | 6 หน่วยกิต |
วทคณ 111 แคลคูลัส | 2 หน่วยกิต |
กญชอ 222 สมการเชิงอนุพันธ์สามัญกับการศึกษาทางชีววิทยา | 2 หน่วยกิต |
กญสห 270 สถิติขั้นแนะนำ | 2 หน่วยกิต |
กลุ่มวิชาเคมีรวมปฏิบัติการ | 7 หน่วยกิต |
วทคม 103 เคมีทั่วไป 1 | 3 หน่วยกิต |
วทคม 104 เคมีทั่วไป 2 | 3 หน่วยกิต |
วทคม 118 ปฏิบัติการเคมี | 1 หน่วยกิต |
กลุ่มวิชาชีววิทยารวมปฏิบัติการ | 7 หน่วยกิต |
วทชว 102 ปฏิบัติการหลักชีววิทยา 1 | 1 หน่วยกิต |
วทชว 104 ปฏิบัติการหลักชีววิทยา 2 | 1 หน่วยกิต |
วทชว 124 ชีววิทยาทั่วไป 1 | 2 หน่วยกิต |
วทชว 125 ชีววิทยาทั่วไป 2 | 3 หน่วยกิต |
กลุ่มวิชาฟิสิกส์รวามปฏิบัติการ | 7 หน่วยกิต |
วทฟส 110 ปฏิบัติการฟิสิกส์ทั่วไป | 1 หน่วยกิต |
วทฟส 167 ฟิสิกส์สำหรับวิทยาศาสตร์ประยุกต์ 1 | 3 หน่วยกิต |
วทฟส 168 ฟิสิกส์สำหรับวิทยาศาสตร์ประยุกต์ 2 | 3 หน่วยกิต |
2.2 วิชาแกน(พื้นฐานทางชีววิทยา) | 16 หน่วยกิต |
กญสห 200 ชีวเคมีพื้นฐาน | 3 หน่วยกิต |
กญสห 201 ปฏิบัติการชีวเคมีพื้นฐาน | 1 หน่วยกิต |
กญสห 220 เคมีอินทรีย์เบื้องต้น | 3 หน่วยกิต |
กญสห 221 ปฏิบัติการเคมีอินทรีย์เบื้องต้น | 1 หน่วยกิต |
กญชอ 306 จุลชีววิทยาขั้นพื้นฐาน | 3 หน่วยกิต |
กญชอ 307 ปฏิบัติการจุลชีววิทยาขั้นพื้นฐาน | 1 หน่วยกิต |
กญชอ 319 ชีวสถิติ | 3 หน่วยกิต |
กญชอ 320 ปฏิบัติการชีวสถิติ | 1 หน่วยกิต |
2.2 กลุ่มวิชาเฉพาะด้าน (บังคับ) | 48 หน่วยกิต |
กญชอ 101 ชีววิทยาเชิงอนุรักษ์ขั้นแนะนำ | 2 หน่วยกิต |
กญชอ 203 วิทยาศาสตร์โลก | 2 หน่วยกิต |
กญชอ 205 พฤกษศาสตร์ | 3 หน่วยกิต |
กญชอ 206 ปฏิบัติการพฤกษศาสตร์ | 1 หน่วยกิต |
กญชอ 207 นิเวศวิทยา | 3 หน่วยกิต |
กญชอ 208 ปฏิบัติการนิเวศวิทยา | 1 หน่วยกิต |
กญชอ 209 พันธุศาสตร์ | 3 หน่วยกิต |
กญชอ 215 สัตววิทยา | 3 หน่วยกิต |
กญชอ 216 ปฏิบัติการสัตววิทยา | 1 หน่วยกิต |
กญชอ 221 เทคนิคภาคสนามขั้นพื้นฐานในการสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพ | 1 หน่วยกิต |
กญชอ 301 หลักชีววิทยาเชิงอนุรักษ์ | 3 หน่วยกิต |
กญชอ 308 ชีววิทยาระดับเซลล์และโมเลกุลขั้นพื้นฐาน | 3 หน่วยกิต |
กญชอ 309 ปฏิบัติการชีววิทยาระดับเซลล์และโมเลกุลขั้นพื้นฐาน | 1 หน่วยกิต |
กญชอ 311 วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม | 3 หน่วยกิต |
กญชอ 315 หลักวิวัฒนาการ | 3 หน่วยกิต |
กญชอ 318 ความหลากหลายทางชีวภาพและการจัดระบบ | 2 หน่วยกิต |
กญชอ 321 ประสบการณ์ภาคสนามในงานวิจัยนิเวศวิทยาสำหรับชีววิทยาเชิงอนุรักษ์ | 1 หน่วยกิต |
กญชอ 403 ชีววิทยาเชิงอนุรักษ์ในทางปฏิบัติ | 2 หน่วยกิต |
กญชอ 404 ประสบการณ์ภาคสนามในการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ | 1 หน่วยกิต |
กญชอ 405 ภูมิสารสนเทศสำหรับชีววิทยาเชิงอนุรักษ์ | 3 หน่วยกิต |
กญชอ 493 สัมมนาทางชีววิทยาเชิงอนุรักษ์ 1 | 1 หน่วยกิต |
กญชอ 494 สัมมนาทางชีววิทยาเชิงอนุรักษ์ 2 | 1 หน่วยกิต |
กญชอ 495 โครงงานทางชีววิทยาเชิงอนุรักษ์ | 4 หน่วยกิต |
2.3 วิชาเฉพาะด้าน(เลือก) | 9 หน่วยกิต |
กญชอ 325 พฤติกรรมสัตว์ | 3 หน่วยกิต |
กญชอ 328 ชีววิทยาน้ำจืด | 3 หน่วยกิต |
กญชอ 331 นิเวศวิทยาของพืช | 3 หน่วยกิต |
กญชอ 332 หลักสรีรวิทยาของพืช | 3 หน่วยกิต |
กญชอ 335 โรคติดต่อจากสัตว์สู่คนและความเกี่ยวข้องกับชีววิทยาเชิงอนุรักษ์ | 3 หน่วยกิต |
กญชอ 338 นิเวศวิทยาทางทะเล | 3 หน่วยกิต |
กญชอ 339 ไมโครเทคนิคทางชีววิทยา | 3 หน่วยกิต |
กญชอ 342 พฤกษศาสตร์พื้นบ้าน | 3 หน่วยกิต |
กญชอ 343 ชีววิทยาของพืชไม่มีท่อลำเลียง | 3 หน่วยกิต |
กญชอ 344 ชีววิทยาของพืชมีท่อลำเลียง | 3 หน่วยกิต |
กญชอ 345 สัตววิทยาของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง | 3 หน่วยกิต |
กญชอ 346 สัตววิทยาของสัตว์มีกระดูกสันหลัง | 3 หน่วยกิต |
กญชอ 347 กีฏวิทยา | 3 หน่วยกิต |
กญชอ 350 นิเวศวิทยาพื้นที่ชุ่มน้ำ | 3 หน่วยกิต |
กญชอ 360 สิ่งแวดล้อมศึกษาและการสื่อสารเพื่อการอนุรักษ์ | 3 หน่วยกิต |
กญชอ 361 การวางแผนและการจัดการการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ | 3 หน่วยกิต |
กญชอ 362 สื่อทางวิทยาศาสตร์เพื่อการรู้คุณค่าธรรมชาติ | 3 หน่วยกิต |
กญชอ 395 อนุกรมวิธานของพืช | 3 หน่วยกิต |
กญชอ 396 ปักษีวิทยา | 3 หน่วยกิต |
กญชอ 398 หัวข้อพิเศษทางชีววิทยาเชิงอนุรักษ์ | 3 หน่วยกิต |
กญชอ 399 การฝึกงานทางชีววิทยาเชิงอนุรักษ์ | 3 หน่วยกิต |
กญชอ 414 นิเวศวิทยาการฟื้นฟู | 3 หน่วยกิต |
กญชอ 415 ความหลากหลายทางชีวภาพในเมืองและการอนุรักษ์ | 3 หน่วยกิต |
กญชอ 416 นิเวศวิทยาและการจัดการอนุรักษ์สัตว์ป่า | 3 หน่วยกิต |
กญชอ 417 เทคนิคการวิจัยสัตว์ป่าขั้นสูง | 3 หน่วยกิต |
กญชอ 464 นิเวศวิทยาป่าไม้เขตร้อน | 3 หน่วยกิต |
3. วิชาเลือกเสรี | 6 หน่วยกิต |
กญชอ 101 ชีววิทยาเชิงอนุรักษ์ขั้นแนะนำ | 2 หน่วยกิต |
กญชอ 203 วิทยาศาสตร์โลก | 2 หน่วยกิต |
กญชอ 205 พฤกษศาสตร์ | 3 หน่วยกิต |
กญชอ 206 ปฏิบัติการพฤกษศาสตร์ | 1 หน่วยกิต |
กญชอ 207 นิเวศวิทยา | 3 หน่วยกิต |
กญชอ 208 ปฏิบัติการนิเวศวิทยา | 1 หน่วยกิต |
กญชอ 209 พันธุศาสตร์ | 3 หน่วยกิต |
กญชอ 215 สัตววิทยา | 3 หน่วยกิต |
กญชอ 216 ปฏิบัติการสัตววิทยา | 1 หน่วยกิต |
กญชอ 221 เทคนิคภาคสนามขั้นพื้นฐานในการสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพ | 1 หน่วยกิต |
กญชอ 301 หลักชีววิทยาเชิงอนุรักษ์ | 3 หน่วยกิต |
กญชอ 308 ชีววิทยาระดับเซลล์และโมเลกุลขั้นพื้นฐาน | 3 หน่วยกิต |
กญชอ 309 ปฏิบัติการชีววิทยาระดับเซลล์และโมเลกุลขั้นพื้นฐาน | 1 หน่วยกิต |
กญชอ 311 วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม | 3 หน่วยกิต |
กญชอ 315 หลักวิวัฒนาการ | 3 หน่วยกิต |
กญชอ 318 ความหลากหลายทางชีวภาพและการจัดระบบ | 2 หน่วยกิต |
กญชอ 321 ประสบการณ์ภาคสนามในงานวิจัยนิเวศวิทยาสำหรับชีววิทยาเชิงอนุรักษ์ | 1 หน่วยกิต |
กญชอ 403 ชีววิทยาเชิงอนุรักษ์ในทางปฏิบัติ | 2 หน่วยกิต |
กญชอ 404 ประสบการณ์ภาคสนามในการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ | 1 หน่วยกิต |
กญชอ 405 ภูมิสารสนเทศสำหรับชีววิทยาเชิงอนุรักษ์ | 3 หน่วยกิต |
กญชอ 493 สัมมนาทางชีววิทยาเชิงอนุรักษ์ 1 | 1 หน่วยกิต |
กญชอ 494 สัมมนาทางชีววิทยาเชิงอนุรักษ์ 2 | 1 หน่วยกิต |
กญชอ 495 โครงงานทางชีววิทยาเชิงอนุรักษ์ | 4 หน่วยกิต |
หมายเหตุ * รายวิชาใหม่