วิทยาศาสตรบัณฑิต

(วิทยาศาสตร์การเกษตร)

ระดับ ปริญญาตรี
คณะ วิทยาเขตกาญจนบุุรี
มม.2 หลักสูตรปรับปรุง 2566 มม.2 คลิกที่นี่ (ใช้กับนักศึกษารหัส 66 เป็นต้นไป)
มคอ.2 หลักสูตรปรับปรุง 2561 มคอ.2 คลิกที่นี่ (ใช้กับนักศึกษารหัส 61-65 เป็นต้นไป)
มคอ.2 หลักสูตรปรับปรุง 2556 มคอ.2 คลิกที่นี่ (ใช้กับนักศึกษารหัส 56-60)
แบบรายงานข้อมูลหลักสูตร Mu Degree Profile
ชื่อปริญญา

วิทยาศาสตรบัณฑิต (วิทยาศาสตร์การเกษตร)

ปรัชญา ความสำคัญของหลักสูตร

ส่งเสริมผู้เรียนให้สามารถพัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง มีความรู้และทักษะด้านวิทยาศาสตร์การเกษตรที่ทันสมัยและเป็นสากล มีความรู้ทางด้านการเกษตรแบบครบวงจร โดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม เน้นการผลิตพืชพลังงานและอุตสาหกรรม ให้ทันต่อความต้องการและการพัฒนาของประเทศ สามารถสืบเสาะหาความรู้ ประมวลผล และกำหนดแนวการแก้ปัญหาในด้านวิทยาศาสตร์การเกษตรได้อย่างเหมาะสม โดยอยู่บนพื้นฐานของคุณธรรมและจริยธรรม รับผิดชอบต่อชุมชน สังคม และประเทศชาติ

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

บัณฑิตที่จบจากหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วิทยาศาสตร์การเกษตร) มีความรู้และมีทักษะด้านวิทยาศาสตร์การเกษตร สามารถทำงานที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์การเกษตร มีคุณธรรมและจริยธรรมในวิชาชีพ มีศักยภาพในการพัฒนาตนเองตลอดชีวิต และมีคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของมหาวิทยาลัยมหิดล

  1. วัตถุประสงค์ของหลักสูตร (Program Objectives)
    1. ความรู้และทักษะด้านวิทยาศาสตร์การเกษตรแบบครบวงจร ตั้งแต่วิทยาศาสตร์ด้านการผลิต พืช เทคโนโลยีที่เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การปรับปรุงพันธุ์พืชด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสม จนกระทั่งอุตสาหกรรมการแปรรูปด้านพลังงานและอาหารที่ไม่กระทบต่อสิ่งแวดล้อม
    2. วางแผนเป็นผู้ประกอบการด้านวิทยาศาสตร์การเกษตรโดยคำนึงถึงสังคมพื้นฐาน เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม เพื่อความยั่งยืนโดย มีความตระหนักในคุณธรรมและจริยธรรม และจรรยาบรรณในการประกอบอาชีพ
    3. ทักษะสื่อสาร แสดงออกถึงความความเข้าใจผู้อื่นและวางแผนการทำงานเป็นทีมทั้งในบทบาท ของผู้นำและผู้ร่วมทีมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
    4. คิดวิเคราะห์ ค้นคว้าและแก้ปัญหา เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์การเกษตร
    5. ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสืบค้นข้อมูล ประมวลผล และกำหนดแนวการแก้ปัญหาในด้าน วิทยาศาสตร์การเกษตรได้อย่างเหมาะสม
  2. ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตร (Program–level Learning Outcomes: PLOs)
    1. แก้ปัญหาด้านวิทยาศาสตร์การเกษตร เกษตรอุตสาหกรรม การผลิตพืชและสัตว์ การจัดการการเกษตร และสาขาที่เกี่ยวข้อง เน้นพืชพลังงานและพืชอุตสาหกรรมได้อย่าง เป็นระบบและถูกต้องทางวิชาการด้านวิทยาศาสตร์การเกษตร
    2. ออกแบบและบริหารโครงการที่แก้ปัญหาและสร้างสรรค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์การเกษตรได้
    3. ปฎิบัติงานทางการเกษตรได้ทั้งในแปลงและห้องทดลอง โดยคำนึงถึงความถูกต้องตามมาตรฐาน วิชาการและความปลอดภัย
    4. สื่อสารข้อมูลกับกลุ่มเป้าหมาย ได้ตรงตามวัตถุประสงค์ โดยใช้ภาษาและสื่อที่เหมาะสม
    5. ทำงานร่วมกับผู้อื่นในบริบทของนักวิทยาศาสตร์การเกษตรด้วยความรับผิดชอบและยอมรับ ความหลากหลากทางความคิดและวัฒนธรรมเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของกลุ่ม
    6. ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติงานในฐานะนักวิทยาศาสตร์การเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ
แนวทางการประกอบอาชีพ

นักศึกษาสามารถประกอบอาชีพอิสระ หรือเข้าทำงานในหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน เช่น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ บริษัทผลิตแอลกอฮอล์เพื่ออาหารและพลังงาน บริษัทที่ผลิตและจำหน่ายพืชผลทางการเกษตร บริษัทตรวจวิเคราะห์ทางการเกษตร บริษัทเมล็ดพันธุ์ บริษัทปุ๋ยและสารเคมีเพื่อการเกษตร บริษัทด้านเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร มหาวิทยาลัย วิทยาลัยและสถานศึกษาต่างๆ ตลอดจนสามารถศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษา ทั้งภายในและต่างประเทศ ในสาขาที่เกี่ยวข้อง เช่น สาขาวิทยาศาสตร์การเกษตร สาขาเกษตร สาขาเทคโนโลยีชีวภาพ สาขาเคมีวิเคราะห์ สาขาพฤกษศาสตร์ สาขาชีววิทยา สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร สาขาชีวโมเลกุล ฯลฯ

โครงสร้างหลักสูตร

 โครงสร้างหลักสูตร ปรับปรุง 2566

จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร : 120 หน่วยกิต

 

หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 24 หน่วยกิต
1.1 รายวิชาศึกษาทั่วไปแกน 11 หน่วยกิต
1.2 รายวิชาศึกษาทั่วไปเลือก 13 หน่วยกิต
2.หมวดวิชาเฉพาะ 90 หน่วยกิต
1.วิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์พื้นฐาน 23 หน่วยกิต
2. วิชาแกน 24 หน่วยกิต
3.วิชาบังคับ 17 หน่วยกิต
4.วิชาเอกเลือก 26 หน่วยกิต
3.หมวดวิชาเลือกเสรี 26 หน่วยกิต

 โครงสร้างหลักสูตร ปรับปรุง 2561

จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร : 132 หน่วยกิต

หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 32 หน่วยกิต
กลุ่มมวิชาที่มหาวิทยาลัยกำหนด 16 หน่วยกิต
1.กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ 7 หน่วยกิต
2.กลุ่มวิชาภาษา 9 หน่วยกิต
กลุ่มมวิชาที่หลักสูตรกำหนด 16 หน่วยกิต
1.กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ 6 หน่วยกิต
2.กลุ่มวิชาภาษา 6 หน่วยกิต
3.กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ 2 หน่วยกิต
4.กลุ่มวิชานันทนาการ 2 หน่วยกิต
หมวดวิชาเฉพาะ 94 หน่วยกิต
1.กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์พื้นฐาน 31 หน่วยกิต
2.กลุ่มวิชาพื้นฐานการเกษตร (แกนเกษตร) 22 หน่วยกิต
3.กลุ่มวิชาเฉพาะทาง (วิชาบังคับ/วิชาเลือก) 41 หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต
รายวิชาในหลักสูตร
หมวดวิชาศึกษาทั่วไป
1) มมศท 100 การศึกษาทั่วไปเพื่อการพัฒนามนุษย์ 3 หน่วยกิต
กลุ่ม Science and Enivironment Literacy
– กญศท 102 เปิดโลกเทคโนโลยีทรัพยากรชีวภาพ 2 หน่วยกิต
ข. หมวดวิชาเฉพาะ
1. กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์พื้นฐาน
วทชว 125 หลักชีววิทยาทั่วไป 2 3 หน่วยกิต
วทชว 104 ปฏิบัติการหลักชีววิทยา 2 1 หน่วยกิต
กญวก 104 เคมีทั่วไปสำหรับวิทยาศาสตร์การเกษตร 2 หน่วยกิต
กญวก 105 คณิตศาสตร์สำหรับวิทยาศาสตร์การเกษตร 1 2 หน่วยกิต
กญวก 264 ปฏิบัติการเคมีวิเคราะห์สำหรับวิทยาศาสตร์การเกษตร 2 หน่วยกิต
กญวก 204 อินทรีย์เคมีและชีวเคมีสำหรับวิทยาศาสตร์การเกษตร 4 หน่วยกิต
กญสห 280 ฟิสิกส์ทั่วไปสำหรับวิทยาศาสตร์การเกษตร 4 หน่วยกิต
กญสห 270 สถิติศาสตร์ขั้นแนะนำ 2 หน่วยกิต
กญสห 370 การวางแผนการทดลอง 3 หน่วยกิต
2. กลุ่มวิชาแกนเกษตร
กญวก 103 วิทยาศาสตร์การเกษตรขั้นแนะนำ 2 หน่วยกิต
กญวก 215 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการผลิตพืชเศรษฐกิจ 3 หน่วยกิต
กญวก 223 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการผลิตสัตว์เศรษฐกิจ 3 หน่วยกิต
กญวก 228 วิทยาการพืชอุตสาหกรรมเพื่อพลังงาน 2 หน่วยกิต
กญวก 319 การปรับปรุงพันธุ์พืช 3 หน่วยกิต
กญวก 334 วิทยาศาสตร์ทางดิน 2 หน่วยกิต
กญวก 347 เทคโนโลยีการผลิตแอลกอฮอล์และไบโอดีเซล 3 หน่วยกิต
กญวก 355 หลักการจัดการศัตรูพืชแบบบูรณาการ 3 หน่วยกิต
กญวก 363 ศึกษาปฏิบัติการวิทยาศาสตร์การเกษตรเพื่อการผลิตพืช 1 1 หน่วยกิต
กญวก 386 ข้อบังคับและกฎหมายในระบบการเกษตร 2 หน่วยกิต
3. กลุ่มวิชาบังคับ
กญวก 208 พันธุศาสตร์เพื่อการเกษตร 2 หน่วยกิต
กญวก 262 ทัศนศึกษาทางวิทยาศาสตร์การเกษตร 1 หน่วยกิต
กญวก 318 สรีรวิทยาการผลิตพืช 2 หน่วยกิต
กญวก 337 จุลชีววิทยาสำหรับวิทยาศาสตร์การเกษตร 3 หน่วยกิต
กญวก 346 เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว 2 หน่วยกิต
กญวก 373 สัมมนา 1 1 หน่วยกิต
กลุ่มโครงการวิจัยระดับปริญญาตรี  หน่วยกิต
กญวก 375 สัมมนา 2 1 หน่วยกิต
กญวก 466 ฝึกงาน 1 หน่วยกิต
กญวก 474 โครงการวิจัยระดับปริญญาตรี 4 หน่วยกิต
กลุ่มสหกิจศึกษา  หน่วยกิต
กญวก 467 สหกิจศึกษา 6 หน่วยกิต
4. วิชาเลือก
กญศท 260 การบริหารและการจัดการองค์การ 3 หน่วยกิต
กญสห 242 ภาษาอังกฤษเพื่อการเขียนและการนำเสนอโครงการ 3 หน่วยกิต
กญสห 243 ภาษาอังกฤษเพื่องานวิจัย 3 หน่วยกิต
กญสห 240 ภาษาอังกฤษสำหรับการสื่อสารองค์กร 3 หน่วยกิต
กญวก 205 หลักศิลปะเพื่อการออกแบบภูมิทัศน์ 1 หน่วยกิต
กญวก 207 ส่งเสริมการเกษตร 3 หน่วยกิต
กญวก 209 คณิตศาสตร์สำหรับวิทยาศาสตร์การเกษตร 2 2 หน่วยกิต
กญวก 216 ไม้ประดับ 3 หน่วยกิต
กญวก 218 เทคโนโลยีการผลิตเห็ดและนวัตกรรมการแปรรูป 3 หน่วยกิต
กญวก 224 การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเพื่อการเกษตร 3 หน่วยกิต
กญวก 225 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเมล็ดพันธุ์ 3 หน่วยกิต
กญวก 226 ไม้ผลและการจัดการสวนไม้ผล 3 หน่วยกิต
กญวก 270 โครงการเชิงปฏิบัติการในองค์กรและชุมชนเกษตร 3 หน่วยกิต
กญวก 283 ภูมิปัญญาไทยทางการเกษตร 3 หน่วยกิต
กญวก 284 ธุรกิจการเกษตร 3 หน่วยกิต
กญวก 305 เครื่องจักรกลการเกษตรและการจัดการน้ำ 3 หน่วยกิต
กญวก 316 หลักการขยายพันธุ์พืช 2 หน่วยกิต
กญวก 323 กายวิภาคศาสตร์พื้นฐานของสัตว์ 3 หน่วยกิต
กญวก 324 สรีรวิทยาพื้นฐานของสัตว์ 3 หน่วยกิต
กญวก 334 หลักการออกแบบภูมิทัศน์ 3 หน่วยกิต
กญวก 348 สารผลิตภัณฑ์ธรรมชาติและการประยุกต์ 3 หน่วยกิต
กญวก 353 หลักการโรคพืชและการป้องกัน 3 หน่วยกิต
กญวก 354 กีฏวิทยาและไรวิทยาทางการเกษตร 3 หน่วยกิต
กญวก 356 เคมีการเกษตรและชีวภัณฑ์ 3 หน่วยกิต
กญวก 374 ความก้าวหน้าทางงานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์การเกษตร 3 หน่วยกิต
กญวก 384 คอมพิวเตอร์เพื่อการเกษตร 3 หน่วยกิต
กญวก 387 ระบบการทำฟาร์มแบบยั่งยืน 3 หน่วยกิต
กญวก 403 ระบบชลประทานเพื่อการเกษตร 3 หน่วยกิต
กญวก 404 ระบบนิเวศการเกษตรและความหลากหลายทางชีวภาพ 3 หน่วยกิต
กญวก 418 เทคโนโลยีการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน 3 หน่วยกิต
กญวก 433 ปัญหาสิ่งแวดล้อมและการจัดการในพื้นที่การเกษตร 3 หน่วยกิต
กญวก 434 เทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อการพัฒนาทรัพยากร 3 หน่วยกิต
กญวก 447 การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร 3 หน่วยกิต
กญวก 485 การจัดการแมลงที่มีประโยชน์ทางเศรษฐกิจ 3 หน่วยกิต
กญวก 487 เทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร 3 หน่วยกิต
กญวก 489 การเกษตรดิจิตอล 3 หน่วยกิต
กญวก 490 การคิดสร้างสรรค์นวัตกรรมการเกษตรและอาหาร 3 หน่วยกิต