ระดับ | ปริญญาตรี |
คณะ | วิทยาเขตกาญจนบุุรี |
มม.2 หลักสูตรปรับปรุง 2566 | มม.2 คลิกที่นี่ (ใช้กับนักศึกษารหัส 66 เป็นต้นไป) |
มคอ.2 หลักสูตรปรับปรุง 2561 | มคอ.2 คลิกที่นี่ (ใช้กับนักศึกษารหัส 61-65) |
มคอ.2 หลักสูตรปรับปรุง 2556 | มคอ.2 คลิกที่นี่ (ใช้กับนักศึกษารหัส 55-60) |
แบบรายงานข้อมูลหลักสูตร | Mu Degree Profile |
Conservation Biology,Mahidol University |
ชื่อปริญญา
วิทยาศาสตรบัณฑิต (ชีววิทยาเชิงอนุรักษ์)
ปรัชญา ความสำคัญของหลักสูตร
จัดการศึกษาที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน (Outcome – based education) โดยใช้การเรียนรู้เป็นศูนย์กลาง เพื่อให้ผู้เรียน
สามารถสร้างเสริมความรู้ ความสามารถด้านชีววิทยาและทักษะใหม่ได้ด้วยตนเอง เพื่อน าไปประยุกต์ใช้ในการอนุรักษ์ซึ่ง
สอดคล้องกับปรัชญาการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยมหิดล
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
- วัตถุประสงค์ของหลักสูตร (Program Objectives) หลักสูตรชีววิทยาเชิงอนุรักษ์จัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมให้บัณฑิต
- มีความรอบรู้และบูรณาการศาสตร์ ด้านชีววิทยา เศรษฐศาสตร์ และสังคมศาสตร์เพื่อวิเคราะห์ปัญหาและวิเคราะห์การแก้ปัญหา
ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับระบบนิเวศและการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ - มีทักษะปฏิบัติงานและเข้าใจระเบียบวิจัย ทักษะวิเคราะห์ข้อมูลตามข้อเท็จจริงจากข้อมูลและหลักฐานเชิงประจักษ์ สู่การเลือกใช้เครื่องมือ กระบวนการ และเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการริเริ่มพัฒนาแผนการอนุรักษ์และโครงงานวิจัยที่เหมาะสม เพื่อการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ
- มีภาวะผู้นำ เข้าใจตนเอง เข้าใจผู้อื่น และใช้ทักษะสื่อสาร ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่นซึ่งแสดงออกอย่างเหมาะสม
- มีแนวคิดด้านการอนุรักษ์ คุณธรรม จริยธรรม และวิจารณญาณ ต่อการให้คุณค่าและอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพรวมทั้งยึดมั่นความถูกต้องตามหลักวิทยาศาสตร์ เพื่อบรรลุเป้าหมายในการอนุรักษ์ ซึ่งไม่ขัดต่อสิทธิมนุษยชน
- มีทักษะการเรียนรู้ทั้งศาสตร์เฉพาะทางชีววิทยาและแนวทางการอนุรักษ์เพื่อใช้ในการพัฒนาตนเองได้สอดคล้องกับบริบทของสถานการณ์โลกทั้งระดับประเทศและนานาชาติ
- มีความรอบรู้และบูรณาการศาสตร์ ด้านชีววิทยา เศรษฐศาสตร์ และสังคมศาสตร์เพื่อวิเคราะห์ปัญหาและวิเคราะห์การแก้ปัญหา
- ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตร (Program–level Learning Outcomes: PLOs) เมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอนในหลักสูตร ผู้สำเร็จการศึกษาจะสามารถ
- PLO1: แก้ปัญหาประเด็นที่เกี่ยวกับระบบนิเวศและการอนุรักษ์ โดยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์อย่างเป็นองค์รวมถูกต้องตามมาตราฐานวิชาการและจรรยาบรรณ
- PLO2: ทำปฏิบัติการทั้งในห้องปฏิบัติการและภาคสนาม เพื่่อสืบเสาะ วิเคราะห์ และตรวจสอบความหลากหลายทางชีวภาพและสิ่งแวดล้อมบนมาตรฐานความปลอดภัย
- PLO3: ผลิตผลงานวิชาการที่สอดคล้องกับบริบทของปัญหาและการอนุรักษ์ให้เป็นไปตามมาตรฐานทางวิทยาศาสตร์และหลักการอนุรักษ์
- PLO4: ทำงานร่วมกับสมาชิกในทีมและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เช่น ชุมชนท้องถิ่น องค์กรด้านการอนุรักษ์ทั้งภาครัฐ และเอกชนในการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพและสิ่งแวดล้อม ด้วยความรับผิดชอบ มีคุณธรรมและเคารพสิทธิของผู้อื่น
- PLO5: ใช้ภาษา วิธีการสื่อสาร และการนำเสนอเพื่อสนับสนุนการจัดการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพในแต่ละบริบทของการสื่อสารที่แตกต่างกันได้อย่างเหมาะสม
- PLO6: แสดงออกซึ่งเจตคติที่ดีต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทั้งในระดับท้องถิ่น ประเทศ และสากล
แนวทางการประกอบอาชีพ
ด้านวิชาการ
1. ผู้ช่วยวิจัย/นักวิจัย/นักวิทยาศาสตร์/นักวิชาการ โดยทำงานได้ทั้งในฐานะ ผู้ปฏิบัติงานและผู้ประสานงานของโครงการเกี่ยวกับชีววิทยาหรือการอนุรักษ์ในห้องปฏิบัติการ หรือพื้นที่ภาคสนามทั้งหน่วยงานภาครัฐหรือเอกชนและองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไรทั้งในและต่างประเทศ เช่น
• Biological Science Technician/Biologist
• Conservation Research Assistant/Scientist
• Zoological Technician/Zoologist
• Field Technician/Ecology Assistant/Ecologist
• Program Manager/Project Officer
• Communication Officer เป็นต้น
2. เจ้าหน้าที่นโยบายและแผนด้านเกี่ยวกับการจัดการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
3. ครูผู้ช่วยในสาระวิชาวิทยาศาสตร์ ด้านชีววิทยา
ด้านสังคมและภาคธุรกิจ
1. เจ้าหน้าที่ฝ่ายกิจกรรมด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม (corporate social responsibility) ขององค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน
2. ประกอบธุรกิจหรือวิสาหกิจเพื่อสังคม (social enterprise) ที่มีความเป็นมิตรต่อระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม
3. นักจัดกิจกรรมและนักสื่อสารด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (Conservation and Nature Communication)
การศึกษาต่อ
สามารถศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษาโดยตรงทางด้านที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ ชีวภาพทั้งทางบกและทางน้ำ ชีววิทยา การจัดการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ ระบบนิเวศทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
• สามารถศึกษาต่อในหลักสูตรหลากหลายในสถาบันอุดมศึกษาต่าง ๆ โดยนำชีววิทยาเชิงอนุรักษ์ไปประยุกต์ใช้เช่น การพัฒนาอย่างยั่งยืน ศึกษาศาสตร์ สิ่งแวดล้อมศึกษา วิสาหกิจเพื่อสังคม หรือตามความสนใจและศักยภาพในการประยุกต์ใช้งานของบัณฑิต
• สามารถศึกษาต่อในหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาในสาขาวิชาที่หลากหลายด้านวิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ในประเทศและต่างประเทศ
โครงสร้างหลักสูตร
โครงสร้างหลักสูตร ปรับปรุง 2566
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร : 125 หน่วยกิต
หมวดวิชา | หน่วยกิต |
1.หมวดวิชาศึกษาทั่วไป | 24 |
1.1 รายวิชาศึกษาทั่วไปแกน | 11 |
(1) รายวิชา มมศท 100 การศึกษาทั่วไปเพื่อการพัฒนามนุษย์ | 3 |
(2) รายวิชาในกลุ่มภาษาที่มหาวิทยาลัยกำหนด | 6 |
(3) รายวิชาในกลุ่ม MU Literacy ที่มหาวิทยาลัยกำหนด | 2 |
1.2 รายวิชาศึกษาทั่วไปเลือก | 13 |
(1) กลุ่ม Health Literacy | |
(2) กลุ่ม Science and Environment Literacy | |
(3) กลุ่ม Intercultural and Global Awareness Literal | |
(4) กลุ่ม Civic Literacy | |
(5) กลุ่ม Finance and Management Literacy | |
2.หมวดวิชาเฉพาะ | 95 |
2.1 กลุ่มวิชาแกนพื้นฐานวิทยาศาสตร์ | 24 |
– กลุ่มวิชาแกนพื้นฐานคณิตศาสตร์ | 6 |
– เคมีทั่วไปหรือพื้นฐาน รวมปฏิบัติการ | 7 |
– ชีววิทยาทั่วไปหรือพื้นฐาน รวมปฏิบัติการ | 7 |
– ฟิสิกส์ทั่วไปหรือพื้นฐาน รวมปฏิบัติการ | 4 |
2.2 กลุ่มวิชาแกน (พื้นฐานทางชีววิทยา) | 16 |
– ชีวเคมี (ทฤษฎีและปฏิบัติการ) | 4 |
– เคมีอินทรีย์ (ทฤษฎีและปฏิบัติการ) | 4 |
– จุลชีววิทยา (ทฤษฎีและปฏิบัติการ) | 4 |
– ชีวสถิติ | 4 |
2.3 กลุ่มวิชาเฉพาะสาขา | 55 |
– กลุ่มวิชาเฉพาะด้าน (บังคับ) | 46 |
– กลุ่มวิชาเฉพาะด้าน (เลือก) | 9 |
3.หมวดวิชาเลือกเสรี | 6 |
รวมหน่วยกิตทั้งหมดตลอดหลักสูตร | 125 |
โครงสร้างหลักสูตร ปรับปรุง 2561
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร : 136 หน่วยกิต
หมวดวิชา | หน่วยกิต |
1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป | 30 |
|
12 |
|
15 |
|
3 |
2. หมวดวิชาเฉพาะ | 100 |
2.1 กลุ่มวิชาแกนพื้นฐานวิทยาศาสตร์ | 27 |
|
6 |
|
7 |
|
7 |
|
7 |
2.2 กลุ่มวิชาแกน (พื้นฐานทางชีววิทยา) | 16 |
|
4 |
|
4 |
|
4 |
|
4 |
2.3 กลุ่มวิชาเฉพาะด้าน | 57 |
กลุ่มวิชาเฉพาะด้าน (บังคับ) | 48 |
กลุ่มวิชาเฉพาะด้าน (เลือก) | 9 |
3. หมวดวิชาเลือกเสรี | 6 |
รวมหน่วยกิตทั้งหมดตลอดหลักสูตร | 136 |
รายวิชาในหลักสูตร
1.หมวดวิชาศึกษาทั่วไป | 24 หน่วยกิต |
1.1 รายวิชาศึกษาทั่วไปแกน | 11 หน่วยกิต |
มมศท 100 การศึกษาทั่วไปเพื่อการพัฒนามนุษย์ | 3 หน่วยกิต |
รายวิชาในกลุ่มภาษา | 6 หน่วยกิต |
รายวิชาในกลุ่ม MU Literacy | 2 หน่วยกิต |
1.2 รายวิชาศึกษาทั่วไปเลือก | 13 หน่วยกิต |
(1) กลุ่ม Health Literacy | |
(2) กลุ่ม Science and Environment Literacy | |
(3) กลุ่ม Intercultural and Global Awareness Literal | |
(4) กลุ่ม Civic Literacy | |
(5) กลุ่ม Finance and Management Literacy | |
2.หมวดวิชาเฉพาะ | 95 หน่วยกิต |
2.1. วิชาแกนพื้นฐานวิทยาศาสตร์ | 24 หน่วยกิต |
กลุ่มวิชาแกนพื้นฐานคณิตศาสตร์ | 6 หน่วยกิต |
วทคณ 111 แคลคูลัส | 2 หน่วยกิต |
กญชอ 222 สมการเชิงอนุพันธ์สามัญกับการศึกษาทางชีววิทยา | 2 หน่วยกิต |
กญสห 270 สถิติขั้นแนะนำ | 2 หน่วยกิต |
กลุ่มวิชาแกนพื้นฐานเคมีทั่วไป รวมปฏิบัติการ | 7 หน่วยกิต |
วทคม 103 เคมีทั่วไป 1 | 3 หน่วยกิต |
วทคม 104 เคมีทั่วไป 2 | 3 หน่วยกิต |
วทคม 118 ปฏิบัติการเคมี | 1 หน่วยกิต |
กลุ่มวิชาแกนพื้นฐานชีววิทยาทั่วไป รวมปฏิบัติการ | 7 หน่วยกิต |
วทชว 102 ปฏิบัติการหลักชีววิทยา 1 | 1 หน่วยกิต |
วทชว 104 ปฏิบัติการหลักชีววิทยา 2 | 1 หน่วยกิต |
วทชว 124 ชีววิทยาทั่วไป 1 | 2 หน่วยกิต |
วทชว 125 ชีววิทยาทั่วไป 2 | 3 หน่วยกิต |
กลุ่มวิชาแกนพื้นฐานฟิสิกส์ทั่วไป รวมปฏิบัติการ | 4 หน่วยกิต |
วทฟส 110 ปฏิบัติการฟิสิกส์ทั่วไป | 1 หน่วยกิต |
วทฟส 167 ฟิสิกส์สำหรับวิทยาศาสตร์ประยุกต์ 1 | 3 หน่วยกิต |
2.2 วิชาแกนพื้นฐานทางชีววิทยา รวมปฏิบัติการ | 16 หน่วยกิต |
กญสห 200 ชีวเคมีพื้นฐาน | 3 หน่วยกิต |
กญสห 201 ปฏิบัติการชีวเคมีพื้นฐาน | 1 หน่วยกิต |
กญสห 220 เคมีอินทรีย์เบื้องต้น | 3 หน่วยกิต |
กญสห 221 ปฏิบัติการเคมีอินทรีย์เบื้องต้น | 1 หน่วยกิต |
กญชอ 306 จุลชีววิทยาขั้นพื้นฐาน | 3 หน่วยกิต |
กญชอ 307 ปฏิบัติการจุลชีววิทยาขั้นพื้นฐาน | 1 หน่วยกิต |
กญชอ 319 ชีวสถิติ | 3 หน่วยกิต |
กญชอ 320 ปฏิบัติการชีวสถิติ | 1 หน่วยกิต |
2.3 กลุ่มวิชาเฉพาะด้าน (บังคับ) | 46 หน่วยกิต |
กญชอ 101 ชีววิทยาเชิงอนุรักษ์ขั้นแนะนำ | 2 หน่วยกิต |
กญชอ 205 พฤกษศาสตร์ | 3 หน่วยกิต |
กญชอ 206 ปฏิบัติการพฤกษศาสตร์ | 1 หน่วยกิต |
กญชอ 207 นิเวศวิทยา | 3 หน่วยกิต |
กญชอ 208 ปฏิบัติการนิเวศวิทยา | 1 หน่วยกิต |
กญชอ 209 พันธุศาสตร์ | 3 หน่วยกิต |
กญชอ 215 สัตววิทยา | 3 หน่วยกิต |
กญชอ 216 ปฏิบัติการสัตววิทยา | 1 หน่วยกิต |
กญชอ 223 เทคนิคภาคสนามพื้นฐานในการสำรวจทางนิเวศวิทยา | 1 หน่วยกิต |
กญชอ 301 หลักชีววิทยาเชิงอนุรักษ์ | 3 หน่วยกิต |
กญชอ 308 ชีววิทยาระดับเซลล์และโมเลกุลขั้นพื้นฐาน | 3 หน่วยกิต |
กญชอ 309 ปฏิบัติการชีววิทยาระดับเซลล์และโมเลกุลขั้นพื้นฐาน | 1 หน่วยกิต |
กญชอ 315 หลักวิวัฒนาการ | 3 หน่วยกิต |
กญชอ 318 ความหลากหลายทางชีวภาพและการจัดระบบ | 2 หน่วยกิต |
กญชอ 322 ประสบการณ์ภาคสนามในงานวิจัยทางนิเวศวิทยา | 1 หน่วยกิต |
กญชอ 323 วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม | 3 หน่วยกิต |
กญชอ 406 การอนุรักษ์และการปฏิบัติ | 3 หน่วยกิต |
กญชอ 407 ภูมิสารสนเทศสำหรับชีววิทยาเชิงอนุรักษ์ | 3 หน่วยกิต |
กญชอ 493 สัมมนาทางชีววิทยาเชิงอนุรักษ์ 1 | 1 หน่วยกิต |
กญชอ 494 สัมมนาทางชีววิทยาเชิงอนุรักษ์ 2 | 1 หน่วยกิต |
กญชอ 495 โครงงานทางชีววิทยาเชิงอนุรักษ์ | 4 หน่วยกิต |
2.3 วิชาเฉพาะด้าน(เลือก) | 9 หน่วยกิต |
กลุ่มที่ 1 Organismal and Biology Laboratory | |
กญชอ 332 หลักสรีรวิทยาของพืช | 3 หน่วยกิต |
กญชอ 343 ชีววิทยาของพืชไม่มีท่อลำเลียง | 3 หน่วยกิต |
กญชอ 345 สัตววิทยาของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง | 3 หน่วยกิต |
กญชอ 346 สัตววิทยาของสัตว์มีกระดูกสันหลัง | 3 หน่วยกิต |
กญชอ 347 กีฏวิทยา | 3 หน่วยกิต |
กญชอ 348 อนุกรมวิธานปลา | 3 หน่วยกิต |
กญชอ 349 ชีววิทยาสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม | 3 หน่วยกิต |
กญชอ 354 พฤกษศาสตร์เศรษฐกิจ | 3 หน่วยกิต |
กญชอ 355 พฤกษศาสตร์พื้นบ้าน | 3 หน่วยกิต |
กญชอ 356 พืชและการเปลี่ยนแปลงของโลก | 3 หน่วยกิต |
กญชอ 357 หลักอนุกรมวิธานพืช | 3 หน่วยกิต |
กญชอ 363 ความหลากหลายและอนุกรมวิธานของแมลง | 3 หน่วยกิต |
กญชอ 364 เทคนิคพื้นฐานเพื่อศึกษาเซลล์และเนื้อเยื่อ | 3 หน่วยกิต |
กญชอ 365 ชีววิทยาการแช่แข็งและการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพนอกถิ่นที่อยู่อาศัย | 3 หน่วยกิต |
กญชอ 366 เทคนิคทางชีววิทยาระดับโมเลกุล | 3 หน่วยกิต |
กญชอ 396 ปักษีวิทยา | 3 หน่วยกิต |
กลุ่มที่ 2 Ecology, Wildlife & Management | |
กญชอ 328 ชีววิทยาน้ำจืด | 3 หน่วยกิต |
กญชอ 350 นิเวศวิทยาพื้นที่ชุ่มน้ำ | 3 หน่วยกิต |
กญชอ 370 หลักสำคัญทางพฤติกรรมสัตว์ | 3 หน่วยกิต |
กญชอ 371 เทคนิควิจัยด้านพฤติกรรมสัตว์ | 2 หน่วยกิต |
กญชอ 372 โรคติดต่อจากสัตว์สู่คน และชีววิทยาเชิงอนุรักษ์ | 3 หน่วยกิต |
กญชอ 373 นิเวศวิทยาของพืช | 3 หน่วยกิต |
กญชอ 374 นิเวศวิทยาป่าไม้เขตร้อน | 3 หน่วยกิต |
กญชอ 414 นิเวศวิทยาการฟื้นฟู | 3 หน่วยกิต |
กญชอ 416 นิเวศวิทยาและการจัดการอนุรักษ์สัตว์ป่า | 3 หน่วยกิต |
กลุ่มที่ 3 Nature Communication for Conservation | |
กญชอ 361 การวางแผนและการจัดการการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ | 3 หน่วยกิต |
กญชอ 380 สิ่งแวดล้อมศึกษา | 3 หน่วยกิต |
กญชอ 381 การสื่อสารเพื่อการอนุรักษ์ | 3 หน่วยกิต |
กลุ่มที่ 4 Training and Field Experience | |
กญชอ 399 การฝึกงานทางชีววิทยาเชิงอนุรักษ์ | 3 หน่วยกิต |
กลุ่มที่ 5 Environment | |
กญชอ 390 มลพิษสิ่งแวดล้อม | 3 หน่วยกิต |
กญชอ 391 การจัดการสิ่งแวดล้อม | 3 หน่วยกิต |
กญชอ 392 การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม | 3 หน่วยกิต |
กญชอ 393 การย่อยสลายทางชีวภาพด้วยจุลินทรีย์และการใช้ประโยชน์จากของเหลือทิ้ง | 3 หน่วยกิต |
3. วิชาเลือกเสรี | 6 หน่วยกิต |