ระดับ | ปริญญาตรี |
คณะ | วิทยาเขตกาญจนบุุรี |
มม.2 หลักสูตรปรับปรุง 2566 | มม.2 คลิกที่นี่ (ใช้กับนักศึกษารหัส 66 เป็นต้นไป) |
มคอ.2 หลักสูตรปรับปรุง 2561 | มคอ.2 คลิกที่นี่ (ใช้กับนักศึกษารหัส 61-65 ) |
มคอ.2 หลักสูตรปรับปรุง 2556 | มคอ.2 คลิกที่นี่ (ใช้กับนักศึกษารหัส 55-60) |
แบบรายงานข้อมูลหลักสูตร | Mu Degree Profile |
ชื่อปริญญา
วิทยาศาสตรบัณฑิต (ธรณีศาสตร์)
ปรัชญา ความสำคัญของหลักสูตร
หลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต (ธรณีศาสตร์) มุ่งสร้างบัณฑิตให้เป็นคนดี มีความรู้และมีทักษะด้านธรณีวิทยา โดยหลักสูตรเน้นการจัดการเรียนการสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
(Student-centered learning) ส่งเสริมประสบการณ์การเรียนรู้ และบูรณาการณ์ความรู้ทางธรณีศาสตร์เชื่อมโยงกับความรู้ทางสังคมศาสตร์และเศรษฐศาสตร์ มีคุณธรรมจริยธรรม และมีเจตคติอันดีงามในการประกอบวิชาชีพ สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตาม มีการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองและการเรียนรู้ตลอดชีวิต และมีความเชี่ยวชาญด้านการปฏิบัติงานภาคสนามตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตร
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ สามารถประกอบอาชีพในสายงานธรณีฯได้ตามที่ผู้ใช้บัณฑิตต้องการ และมีคุณลักษณะบันฑิตที่พึงประสงค์เป็นไปตามมาตรฐานของมหาวิทยาลัยมหิดล (MU Attributes) 4 ด้าน คือ มีความรู้ความสามารถทางวิชาการและในการประกอบอาชีพทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติทั้งในทางกว้างและทางลึก (Breadth & Depth) สามารถคิด วิเคราะห์ และบูรณาการอย่างเป็นระบบเพื่อแก้ปัญหาโดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
- วัตถุประสงค์ของหลักสูตร (Program Objectives)
- มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคมตามจรรยาบรรณในการประกอบอาชีพประเภทงานทางธรณีฯ และเห็นความสำคัญของประโยชน์ต่อส่วนรวมเป็นที่ตั้ง
- มีความรู้วิทยาศาสตร์พื้นฐานและความรู้ทางธรณีศาสตร์ เพื่อประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาทางธรณีฯ
- ใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ในการปฏิบัติงานทางธรณีฯ การสำรวจและจัดทำแผนที่ได้อย่างถูกต้องตามมาตรฐานสากล
- ทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในสายอาชีพและบุคคลทั่วไป เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ของงานที่ได้รับมอบหมาย
- สื่อสารความรู้ทางด้านธรณีศาสตร์ โดยใช้ภาษาที่ถูกต้องและเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย
- ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในงานทางธรณีฯหรืองานที่เกี่ยวข้องได้อย่างเหมาะสม
- ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตร (Program–level Learning Outcomes: PLOs)
-
- อธิบายปรากฎการทางธรณีศาสตร์โดยใช้ความรู้พื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์และธรณีศาสตร์ได้ถูกต้องตามหลักวิชาการ
- ใช้เครื่องมือวิเคราะห์และอุปกรณ์การสำรวจ อย่างคล่องแคล่ว เหมาะสม และถูกต้องตามหลักวิชาการ
- สำรวจลักษณะทางธรณีวิทยาของพื้นที่เป้าหมายถูกต้องตามหลักวิชาการและบรรลุวัตถุประสงค์ของงาน
- จัดทำแผนที่ได้อย่างเหมาะสม ถูกต้องตามหลักวิชาการและตามมาตรฐานสากล
- สื่อสารข้อมูลให้กับบุคคลในสายงานธรณีศาสตร์และบุคคลทั่วไปได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์และกลุ่มเป้าหมาย
- ทำงานร่วมกับบุคคลในสายวิชาชีพและบุคคลทั่วไป ในบทบาทนักธรณีศาสตร์ เพื่อบรรลุเป้าหมายของงานได้อย่างเหมาะสม
- วางแนวทางหรือวิธีการแก้ปัญหาทางธรณีศาสตร์อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ
แนวทางการประกอบอาชีพ
อาชีพในสายงานธรณีวิทยา ตามที่มาตรฐานวิชาชีพระบุไว้ ของทุกองค์กรทั้งภาครัฐฯและเอกชนในตำแหน่ง ดังนี้
– นักธรณีวิทยา
– Geo-physicist
– Geo-chemists
– Hydrogeologists
– Engineering geologists
– Mining geologists
– Mineralogists
– Environmental geologists
และตำแหน่งเกี่ยวข้อง เช่น นักสำรวจ นักธรณีเทคนิค เป็นต้น
โครงสร้างหลักสูตร
โครงสร้างหลักสูตร ปรับปรุง 2566
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร : 132 หน่วยกิต
1.หมวดวิชาศึกษาทั่วไป | 24 หน่วยกิต |
– รายวิชาศึกษาทั่วไปแกน | 11 หน่วยกิต |
– รายวิชาศึกษาทั่วไปเลือก | 13 หน่วยกิต |
2.หมวดวิชาเฉพาะ | 102 หน่วยกิต |
– วิชาแกน | 30 หน่วยกิต |
– วิชาเฉพาะด้าน (บังคับแกน) | 57 หน่วยกิต |
– วิชาพื้นฐานทางธรณีศาสตร์ | 15 หน่วยกิต |
หมวดวิชาเลือกเสรี | 6 หน่วยกิต |
โครงสร้างหลักสูตร ปรับปรุง 2561
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร : 140 หน่วยกิต
หมวดวิชาศึกษาทั่วไป | 30 หน่วยกิต |
กลุ่มวิชาที่มหาวิทยาลัยกำหนด | 16 หน่วยกิต |
|
7 หน่วยกิต |
|
9 หน่วยกิต |
กลุ่มมวิชาที่หลักสูตรกำหนด | 14 หน่วยกิต |
หมวดวิชาเฉพาะ | 104 หน่วยกิต |
|
29 หน่วยกิต |
|
66 หน่วยกิต |
|
9 หน่วยกิต |
หมวดวิชาเลือกเสรี | 6 หน่วยกิต |
รายวิชาในหลักสูตร
หมวด/รายวิชา | จำนวนหน่วยกิต |
ก.หมวดวิชาศึกษาทั่วไป | 24 |
รายวิชาศึกษาทั่วไปแกน | 11 |
1) มมศท 100 การศึกษาทั่วไปเพื่อการพัฒนามนุษย์ | 3 |
2) รายวิชาในกลุ่มภาษา * | 6 |
3) รายวิชาในกลุ่ม MU Literacy ** | 2 |
รายวิชาศึกษาทั่วไปเลือก | 13 |
ข. หมวดวิชาเฉพาะ | 102 |
(1) วิชาแกนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ | 30 |
กญสห 270 สถิติศาสตร์ขั้นแนะนำ | 2 |
วทคณ 111 แคลคูลัส | 2 |
วทคณ 166 สมการเชิงอนุพันธ์สามัญ | 3 |
วทคม 103 เคมีทั่วไป 1 | 3 |
วทคม 118 ปฏิบัติการเคมี | 1 |
วทคม 104 เคมีทั่วไป 2 | 3 |
วทคม 107 ปฏิบัติการเคมีทั่วไป | 1 |
วทชว 124 ชีววิทยาทั่วไป 1 | 2 |
วทชว 102 ปฏิบัติการชีววิทยา 1 | 1 |
วทชว 125 ชีววิทยาทั่วไป 2 | 3 |
วทชว 104 ปฏิบัติการชีววิทยา 2 | 1 |
วทฟส 167 ฟิสิกส์สำหรับวิทยาศาสตร์ประยุกต์ 1 | 3 |
วทฟส 168 ฟิสิกส์สำหรับวิทยาศาสตร์ประยุกต์ 2 | 3 |
วทฟส 110 ปฏิบัติการฟิสิกส์ทั่วไป | 1 |
(2) วิชาเฉพาะด้านทางธรณีศาสตร์ (แกนบังคับ) | 57 |
กญธศ 101 ธรณีวิทยารอบตัว | 1 |
กญธศ 201 หลักธรณีศาสตร์ | 2 |
กญธศ 204 ภาพถ่ายทางอากาศและการรับรู้ระยะไกล | 1 |
กญธศ 205 ธรณีสัณฐานวิทยา | 2 |
กญธศ 203 การเขียนรายงานทางธรณีวิทยา | 1 |
กญธศ 217 แร่วิทยาและผลึกศาสตร์ | 3 |
กญธศ 218 ศิลาวรรณนาและจุลทรรศนศาสตร์ทางแร่ | 3 |
กญธศ 225 ตะกอนวิทยาและการปฏิบัติการ | 3 |
กญธศ 226 การลำดับชั้นหิน | 2 |
กญธศ 223 วิทยาหิน | 3 |
กญธศ 224 ระเบียบวิธีการวาดและการจัดทำภาคสนาม | 2 |
กญธศ 233 บรรพชีวินวิทยา | 3 |
กญธศ 261 ปฏิบัติงานธรณีวิทยาภูมิภาค | 3 |
กญธศ 301 ธรณีวิทยาโครงสร้าง | 3 |
กญธศ 302 ปฏิบัติการธรณีวิทยาโครงสร้าง | 1 |
กญธศ 369 การสำรวจทางธรณี | 1 |
กญธศ 304 ธรณีแปรสัณฐาน | 2 |
กญธศ 306 คอมพิวเตอร์ในงานธรณีวิทยา | 1 |
กญธศ 307 ธรณีวิทยาประเทศไทย | 2 |
กญธศ 313 ศิลาวิทยา | 3 |
กญธศ 356 ธรณีฟิสิกส์ | 3 |
กญธศ 355 ธรณีเคมี | 2 |
กญธศ 361 ปฏิบัติงานธรณีวิทยาภาคสนาม | 4 |
กญธศ 362 สัมมนา 1 | 1 |
กญธศ 461 การฝึกงานด้านธรณีศาสตร์ | 2 |
กญธศ 462 โครงงานทางธรณีศาสตร์ | 2 |
กญธศ 463 สัมมนา 2 | 1 |
(3) วิชาเลือก (ทางธรณีศาสตร์) | 15 |
กลุ่ม ธรณีศาสตร์ประยุกต์ (Apply Geoscience) | |
กญธศ 371 ดาราศาสตร์เบื้องต้น | 3 |
กญธศ 471 อัญมณีวิทยา | 3 |
กญธศ 472 การท่องเที่ยวเชิงธรณีวิทยา | 3 |
กญธศ 473 ธรณีวิทยาภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ | 3 |
กญธศ 474 ธรณีฟิสิกส์โลก | 3 |
กญธศ 475 ปฐพีวิทยาและธรณีวิทยาเพื่อการเกษตร | 3 |
กญธศ 476 การวิเคราะห์แอ่งสะสมตะกอน | 3 |
กญธศ 381 ไพทอนเบื้องต้น | 3 |
กญธศ 382 สถิติสำหรับนักวิทยาการข้อมูล | 3 |
กญธศ 383 วิทยาการข้อมูลเบื้องต้น | 3 |
กลุ่ม ธรณีวิทยาปิโตรเลียม | |
กญธศ 391 ธรณีวิทยาปิโตรเลียมและทรัพยากรพลังงาน | 3 |
กญธศ 491 ธรณีฟิสิกส์ปิโตรเลียม | 3 |
กญธศ 392 ธรณีพิบัติภัย | 3 |
กญธศ 492 ธรณีศาสตร์กับการจัดการจัดการสิ่งแวดล้อม | 3 |
กลุ่ม ธรณีวิทยาวิศวกรรม | |
กญธศ 493 ธรณีวิทยาเชิงวิศวกรรม | 3 |
กญธศ 494 ธรณีฟิสิกส์วิศวกรรมและสิ่งแวดล้อม | 3 |
กลุ่ม ธรณีวิทยาเหมืองแร่ | |
กญธศ 393 ธรณีวิทยาเศรษฐศาสตร์และธรณีวิทยาแหล่งแร่ | 3 |
กญธศ 495 ศิลาวิทยาหินตะกอน | 3 |
กญธศ 496 ศิลาวิทยาหินอัคนีและหินแปร | 3 |
กญธศ 497 การประเมินแหล่งทรัพยากรกธรณี | 3 |
กลุ่ม อุทกธรณีวิทยา | |
กญธศ 394 ธรณีวิทยายุคควอเทอร์นารี | 3 |
กญธศ 395 อุทกธรณีวิทยา | 3 |