ประชาสัมพันธ์ “กิจกรรมดูนก GlobalBigDay 2022 at MUKA”
Global Big Day ในเดือนพฤษภาคมได้ผ่านไปแล้ว เราก็กลับมาพบกันอีกครั้งใน “October Big Day” วันเสาร์ที่ 8 ตุลาคม นี่เอง
รอบนี้มาในธีมสีเหลือง
ซึ่งมีใครทราบหรือไม่ว่า สีขนสวยๆของพวกนกนั้นเป็นผลมาจากอาหารที่พวกมันกินด้วย
อย่างเจ้าพวกนกตัวเหลืองๆ ที่ทุกคนเห็นในภาพ สีเหลืองของพวกมันก็เป็นผลมาจาก แคโรทีนอยด์ (Carotenoids) ซึ่งเป็นรงควัตถุที่มีสีเหลืองส้มพบได้ในพืชที่พวกมันกินนั่นเอง (TheCornellLab, 2015)


Global Big Day คืออะไร

เป็นกิจกรรมที่นักดูนกทั่วโลกพร้อมใจกันออกไปดูนกและพยายามสำรวจนกให้ได้มากที่สุดภายใน 24 ชั่วโมง แล้วจึงรายงานกันเข้ามาในเว็บไซต์ที่เรียกว่า eBird (http://ebird.org/) ซึ่งเป็นศูนย์กลางของข้อมูลรายงานนกจากทั่วโลก
ขอเชิญชวนผู้ที่สนใจ นักศึกษา ศิษย์เก่า และบุคคลภายนอกเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว ตัวกิจกรรมเปิดโอกาสให้ผู้ที่ไม่เคยดูนกเลย ไปจนถึงผู้เชี่ยวชาญ โดยเป้าหมายของกิจกรรม คือ ความสนุก การฝึกดูนก การรวบรวมข้อมูลนกในวิทยาเขต และลงบันทึกข้อมูลที่เป็นตัวช่วยให้นำไปจัดการอนุรักษ์นกระดับมหาวิทยาลัย ระดับประเทศ และระดับโลกได้ หมายนัดเจอกันที่ @Mahidol Kanchanaburi, Ecology Lab (L-209) วันที่ 7-8 ตุลาคม 2565
สิ่งที่ต้องเตรียมมา

1. สมุดบันทึก
2. เครื่องแต่งกายที่ใส่สบาย รองเท้าผ้าใบ หมวก และร่มกันฝนประจำฤดูมรสุม
3. ขวดน้ำดื่ม (บางทีมเดินทางตลอดเวลา)
4. ATK รบกวนตรวจก่อนวันเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อการป้องกันตามมาตรฐาน Covid-19
กำหนดการเบื้องต้น

1. วันศุกร์ที่ 7 ตุลาคม 2565
16.30 – 18.00 น. อบรมการจำแนกนกเบื้องต้น ฝึกฟังเสียง และฝึกการใช้กล้องดูนก ที่ห้อง L-209
2. วันเสาร์ที่ 8 พฤษภาคม 2565
6.00 – 10.00 น. ทีมดูนกแต่ละทีมแยกย้ายสำรวจนกประจำจุดสำรวจ
9.00 – 12.00 น. ช่วงเวลาสำรวจเหยี่ยว เชิญที่จุดชมวิว หรือตึกสัตวแพทย์ใหม่ปากทางถนนดำ
13.00 – 17.00 น. แยกย้ายเก็บตกชนิดนกที่ตกสำรวจ
19.00 – 23.00 น. สำรวจนกกลางคืน และรวบรวมข้อมูลส่ง e-birds ที่ห้องตึกปฏิบัติการ L-209

อ้างอิง
How Birds Make Colorful Feathers, TheCornellLab (2015)