การอบรมวิทยาศาสตร์โลก และนวัตกรรมการศึกษา
สำหรับการอบรมวิทยาศาสตร์โลก มีการจำแนกออกเป็น 3 กลุ่ม โดยแต่ละชุดมีการ อบรมแบบไม่เสียค่าใช้จ่าย เนื่องจากได้รับการสนับสนุนจากแหล่งทุน คือ
กลุ่มที่ 1 เป็นการอบรมครูจากจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ ทางด้าน วิทยาศาสตร์โลก จำนวน 90-120 คนต่อปี โดยได้รับการสนับสนุนจาก สสวท โดยมีตัวอย่างรายละเอียดและกิจกรรมดังแสดงใน
- โครงการอบรมครูเชิงปฏิบัติการด้านธรณีศาสตร์ ประจำปี 2563 (รุ่นที่ 4)
- โครงการอบรมครูเชิงปฏิบัติการด้านธรณีศาสตร์ ประจำปี 2563 (รุ่นที่ 3)
- โครงการอบรมครูเชิงปฏิบัติการด้านธรณีศาสตร์ ประจำปี 2562 (รุ่นที่ 2)
- โครงการอบรมครูเชิงปฏิบัติการด้านธรณีศาสตร์ ประจำปี 2562 (รุ่นที่ 1)
โดยมีจุดประสงค์ยกระดับครูที่ทำการสอน Earth Science ให้กับครูที่ทำการสอนในระดับมัธยมศึกษา ให้มีความรู้และความเข้าใจในภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ รวมถึงเสนอแนะรูปแบบการสอนและพัฒนาอุปกรณ์การสอนและกระบวนการสอนในรูปแบบที่แตกต่างจากเดิม นอกจากนี้เพื่อสร้าง Network ระหว่างครูผู้สอนด้วยกัน
กลุ่มที่ 2 เป็นการอบรมนักเรียนผู้มีความสามารถพิเศษจากภูมิภาคตะวันตก โดยได้รับการสนับสนุนจาก สอวน โดยมีการคัดเลือกเพื่อเข้าอบรมจำนวน 50 คน และมีการอบรมทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติทางด้าน Earth Science และมีการสอบเพื่อคัดเลือกในการอบรมค่าย 2 รวมถึงคัดเลือกตัวแทนเพื่อเข้าร่วมแข่งระดับประเทศ
- การจัดอบรมวิชาวิทยาศาสตร์โลกและอวกาศ ปี 2564 (ค่าย 1)
- การจัดอบรมวิชาวิทยาศาสตร์โลกและอวกาศ ปี 2563 (ค่าย 2)
- การจัดอบรมวิชาวิทยาศาสตร์โลกและอวกาศ ปี 2563 (ค่าย 1)
กลุ่ม 3 เนื่องจากจังหวัดกาญจนบุรีถูกจัดเป็นพื้นที่ นวัตกรรมการศึกษา ดังนั้นทางมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี ได้รับการสนับสนุนจาก สสวท ในการดำเนินโครงการส่งเสริมนวัตกรรมให้แก่โรงเรียนในจังหวัดกาญจนบุรี (Applied Learning Program) โดยมีการอบรมโดยไม่มีค่าใช้จ่าย โดยได้เลือกนวัตกรที่เชี่ยวชาญแต่ละด้าน มาเป็นวิทยากรและที่ปรึกษาในการพัฒนานวัตกรรมให้กับครูและนักเรียน ซึ่งมีการเลือกโรงเรียนในพื้นที่ห่างไกลของกาญจนบุรี มาร่วมในการพัฒนาเพื่อสร้างโอกาสในการศึกษาและความเท่าเทียมในการพัฒนาด้านการเรียนการสอน มีผู้เข้าร่วมทั้งหมดต่อปีประมาณ 600 คน จาก 6 โรงเรียน และคัดเลือกกลุ่มที่โดดเด่นมาร่วมพัฒนานวัตกรรม
- โครงการพัฒนาพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จังหวัดกาญจนบุรี (ภายใต้โครงการเพิ่มศักยภาพครูให้มีสมรรถนะของครูยุคใหม่สำหรับการเรียนรู้ศตวรรษที่ 21)
- มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรีร่วมกับสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ดำเนินโครงการพัฒนาพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา
ได้รับคู่ความร่วมมือหลักจาก สสวท สอวน สพฐ