การส่งเสริมการท่องเที่ยวนวัตวิถีเชิง 3H
- ด้านการดำเนินการ (Operations)
- ด้านการวิจัย (Research)
- ด้านการเรียนรู้ (Learning)
- การมีส่วนร่วม (Public Community)
- ด้านความร่วมมือ (Collabration)
ในแต่ละปี ทางมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี ได้ลงไปทำวิจัยเชิงพื้นที่สำรวจวิถีชุมชนต่างๆ และสกัดความรู้จากชุมชน เพื่อผลักดันด้านการท่องเที่ยวเชิงเกษตร (Agri-Tourism) สอดคล้องกับเป้าหมายของจังหวัดกาญจนบุรีที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวระดับต้นๆ ของประเทศ
ทั้งนี้แนวคิดในการผลักดันใช้หลักการ 3H (Health, Herb, and Happiness) การสกัดองค์ความรู้เพื่อนำไปใช้ประชาสัมพันธ์ในรูปแบบต่างๆ ให้สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมาย ในปี 2562 ได้สกัดความรู้และนำเสนอเป็น Clip VDO แนะนำแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรปลอดภัย และได้ตั้งหมายไว้ว่าจะลดและงดการใช้สารเคมีของหมู่บ้านสามัคคีธรรม ซึ่งชุมชนมีความเข้มแข็ง ดังแสดงในภาพที่ 1 ซึ่งจากการส่งประกวดได้รับรางวัลอันดับ 2 ของจังหวัดกาญจนบุรีเช่น ในปี 2563 ได้พัฒนาขึ้นเป็น Cartoon Animation ให้สอดคล้องกับกลุ่มท่องเที่ยวทั้ง 3 Generation ที่จะท่องเที่ยวด้วยกัน โดยได้สกัดความรู้จากภูมิปัญญาของชุมชน และร้อยเรียงเป็นเรื่องเดียวกัน เพื่อสนับสนุนการสนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ตามสถานที่ที่กำหนด และการทำ Website เพื่อช่วยในการวางแผนการท่องเที่ยว และให้ความรู้เกี่ยวกับอาหารและสมุนไพรที่รับประทาน ดังแสดงในภาพที่ 2 การทำสื่อสิ่งพิมพ์ เช่น Poster (ภาพที่ 3) และแผ่นพับของปางอุ๋งไทรโยคหรืออ่างเก็บน้ำช่องอ้ายกาง หลังจากที่ชุมชนร่วมกันสร้างฝายชะลอน้ำตามแนวพระราชดำริฯ ส่งผลให้อ่างเก็บขนาดเล็กที่สำคัญของหมู่บ้านสามัคคีธรรมที่สมัยก่อนเคยแห้งในหน้าแล้งแต่ปัจจุบันไม่เคยแห้งอีกเลย และยังเป็นแหล่งน้ำเพียงแห่งเดียวที่ส่งเสริมอาชีพเกษตรกรรมให้มีการจัดการอย่างยั่งยืน และมีความสำคัญต่อทุกชีวิตของชุมชนและค้ำจุนความหลากหลายของพืชพรรณสัตว์ป่าอย่างมั่นคง
ภาพที่ 1 แนะนำแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรปลอดภัย ของชุมชนหมู่บ้านสามัคคีธรรม
ภาพที่ 3 ปางอุ๋งไทรโยคหรืออ่างเก็บน้ำช่องอ้ายกาง
ในปี 2563 ได้เน้นการลงพื้นที่ชุมชนผ่านโครงการ AIC (AGRITECH AND INNOVATION CENTER) เพื่อทำเป็น Prototype ในการร่วมวางแผนและพัฒนาเป็นต้นแบบ โดยเลือกหมู่บ้านสามัคคีธรรม อ.ไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี ทั้งนี้ได้ทำการวิจัยและวิเคราะห์ Happiness ของชุมชน โดยได้รับความร่วมมือจากศูนย์วิจัยความสุขคนทำงานแห่งประเทศไทย สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล โดยใช้เครื่องมือในการทดสอบ Happinometer ผลจากการทดสอบแสดงในภาพที่ 4 ซึ่งจากผลทดสอบดังกล่าวได้นำมาใช้ในการวิเคราะห์และวางแผนในการพัฒนาชุมชนโดยเน้นด้านที่ยังคงมีคะแนนอยู่ในระดับน้อย เช่น สุขภาพการเงินดี การงานดี ใฝ่รู้ดี และผ่อนคลายดี
ภาพที่ 4 ผลการทดสอบ Happinometer ของชุมชนหมู่บ้านสามัคคีธรรม
จากผลการสำรวจเชิงพื้นที่ กอปรกับผลการทดสอบ Happinometer นำไปสู่การวางแผนการอบรมร่วมกันกับชุมชนโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายในการอบรม และนำไปสู่การพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพผลิตภัณฑ์ให้มีความยั่งยืน ส่งผลให้มูลค่าเศรษฐกิจเชิงพื้นที่ดีขึ้น
นอกจากนี้ในปี 2563 และ 2564 ได้สนับสนุนการวางแผนพัฒนาอัตลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ เพื่อสนับสนุนชุมชนการท่องเที่ยวเชิงเกษตร เช่น การเตรียมการจดทะเบียน“ทุเรียนทองผาภูมิ” โดยใช้สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ หรือ GI และการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ให้กับชุมชนบริเวณเขื่อนศรีนครินทร์ ตัวอย่างเช่น เห็ดและการจำแนกประเภทของเห็ด รวมถึงเมล็ดกาแฟและกล้วยขันหมากที่เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญในแก้วกาแฟปั่นของ “ร้านคุณสายชล” ที่ตั้งอยู่บริเวณสำนักงานเขื่อนฯ
ในปี 2563 และ 2564 ทางทีมงานวิจัย ผ่านโครงการของศูนย์ AIC ได้ลงเก็บ Pain Points ต่างๆ ของชุมชน ตลอดจนผลการวิเคราะห์ Happinometer มาใช้ในการวางแผนและพัฒนาโครงการ จากผลการวิจัยเชิงพื้นที่ ส่งผลให้มีการจัดทำฐานข้อมูล พัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ และพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่าย เพื่อสนับสนุนชุมชนให้มีรายได้เพิ่มขึ้นจากการท่องเที่ยวเชิงเกษตร และสอดคล้องกับผลประเมิน Happinometer ตัวอย่างผลิตภัณฑ์และการปรับปรุงช่องทางการจัดจำหน่ายแสดงในภาพที่ 5 นอกจากนี้มีการปรับคุณภาพผลิตภัณฑ์จากเศษวัสดุเหลือใช้จากป่ามาขึ้นรูปเป็นผลิตภัณฑ์ เช่น กระถาง เพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน ส่วนรายละเอียดเพิ่มเติมแสดงใน AIC Website
ภาพที่ 5 การปรับคุณภาพผลิตภัณฑ์และการปรับเปลี่ยนช่องทางการตลาดของผลิตภัณฑ์ให้กับชุมชน
สำหรับวิจัยเชิงผลิตภัณฑ์ มีการรวบรวมผลิตภัณฑ์การเกษตรและสมุนไพรจากชุมชน ที่ได้ทำการศึกษาเบื้องต้น มาวิเคราะห์สารสกัดที่ออกฤทธิ์ที่ส่งผลต่อสุขภาพ (Health) หรือประเมินหรือตรวจสอบสารที่ทำให้เกิดเป็นอัตลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ เพื่อสนับสนุนการเป็นจุดขายของผลิตภัณฑ์
นอกจากมีการพัฒนาเนื้อหาตามความต้องการร่วมกับชุมชน และทำการอบรมเชิงพื้นที่ให้กับชุมชน โดยชุมชนไม่เสียค่าใช้จ่ายแล้ว ทางมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรียังมีการจัดทำ ด้านการ Share and Learn มีการเก็บรวบรวม สกัดความรู้ แสดงบน Website ของ AIC และมีการสรุปการสกัดความรู้ลงใน MUKA Knowledge สำหรับการสนับสนุนการสร้างชุมชนท่องเที่ยว นวัตวิถี เพื่อให้เกิดความยั่งยืน นอกจากนี้มีการเผยแพร่ผ่านการประชุมขับเคลื่อนและติดตามการดำเนินงานศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม (Agritech and Innovation Center: AIC เขตตรวจราชการที่ 3) ดังแสดงในรูปที่ 6 ซึ่งมีผู้ร่วมงานจำนวนมาก รวมถึงมีการให้ความรู้เพื่อสร้างอัตลักษณ์ผลิตภัณฑ์ทุเรียนของจังหวัดกาญจนบุรี ส่งเสริมการท่องเที่ยวผ่านกิจกรรมงานทุเรียนทองผาภูมิและผลไม้จังหวัดกาญจนบุรี ร่วมกับพาณิชย์จังหวัดและการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานกาญจนบุรี ดังแสดงในรูปที่ 7
ภาพที่ 6 การติดตามผลการดำเนินการผ่านการประชุมขับเคลื่อนและติดตามการดำเนินงานศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม (Agritech and Innovation Center: AIC เขตตรวจราชการที่ 3) และต้อนรับคณะที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการเกษตรและสหกรณ์
ภาพที่ 7 กิจกรรมงานทุเรียนทองผาภูมิและผลไม้จังหวัดกาญจนบุรี ร่วมกับพาณิชย์จังหวัดและการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานกาญจนบุรี
นอกจากนี้ ในปี 2563 และ 2564 ทางมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี มีการต่อยอดองค์ความรู้ โดยพัฒนาขึ้นเป็น Non-degree โครงการบัณฑิตพันธุ์ใหม่ เรื่อง “นวัตกรรมการผลิตพืชแห่งอนาคต (Innovative Plant Production for Future” โดยได้รับทุนสนับสนุนจากกระทรวง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ในการต่อยอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีทางการเกษตรเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ ให้กับชุมชนและผู้ประกอบการทางการเกษตร นำไปปรับปรุงผลิตภัณฑ์ การวางแผนการจัดจำหน่าย และการจัดการอย่างยั่งยืน
รายละเอียดเพิ่มเติม EP7 แนวทางสร้างรายได้ ด้วยแนวคิดชุมชนท่องเที่ยว นวัตวิถึ
สำหรับการดำเนินการเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวเชิง 3H จำเป็นต้องได้รับความร่วมมือกับชุมชนเป็นอย่างมาก ซึ่งได้ลงพื้นที่ไปในชุมชนต่างๆ ตัวอย่างเช่น ภาพความร่วมมือในการจัดทำ Happinometer ของชุมชนหมู่บ้านสามัคคีธรรม ดังแสดงในรูปที่ 8 หรือภาพแสดงความร่วมมือกับวิสาหกิจชุมชน (รูปที่ 9)
ภาพที่ 8 ความร่วมมือกับชุมชนในการประเมิน Happinometer
ภาพที่ 9 ตัวอย่างภาพความร่วมมือในการวางแผนกิจกรรมโครงการร้านค้าวิสาหกิจชุมชนประจำตำบล โดยมีศูนย์กลางบริหารจัดการกระจายรับส่งสินค้า เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนในชุมชนระดับตำบล
สำหรับความร่วมมือ นอกเหนือจากที่ได้รับจากชุมชนต่างๆ แล้ว มีการร่วมมือกับส่วนงานภายในมหาวิทยาลัยมหิดล เช่น สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ในบางโครงการได้ทำการ Matching กับทางภาคเอกชน และการวางแผนโครงการร่วมกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง SCGP โรงงานวังศาลา สมาพันธ์ SME ไทย สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) ภาครัฐวิสาหกิจ เช่น การไฟฟ้าฝ่ายผลิตเขื่อนศรีนครินทร์ และทางภาครัฐ เช่น พาณิชย์จังหวัด และเกษตรจังหวัด