ระดับ | ปริญญาตรี |
คณะ | วิทยาเขตกาญจนบุุรี |
มม.2 หลักสูตรปรับปรุง 2566 | มม.2 คลิกที่นี่ (ใช้กับนักศึกษารหัส 66 เป็นต้นไป) |
มคอ.2 หลักสูตรปรับปรุง 2561 | มคอ.2 คลิกที่นี่ (ใช้กับนักศึกษารหัส 61-65) |
มคอ.2 หลักสูตรปรับปรุง 2556 | มคอ.2 คลิกที่นี่ (ใช้กับนักศึกษารหัส 55-60) |
แบบรายงานข้อมูลหลักสูตร | Mu Degree Profile |
ชื่อปริญญา
วิทยาศาสตรบัณฑิต (เทคโนโลยีการอาหาร)
ปรัชญา ความสำคัญของหลักสูตร
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (เทคโนโลยีการอาหาร) มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี มุ่งผลิตบัณฑิตให้เป็นคนดี มีความรู้ มีความเป็นผู้นำในทางวิชาการ มีทักษะและมีจริยธรรมในวิชาชีพ สร้างและพัฒนาองค์ความรู้อย่างต่อเนื่อง มีความมุ่งมั่นที่จะรับใช้ชุมชนและสังคม สนองความต้องการทั้งภาครัฐและเอกชน หลักสูตรเทคโนโลยีการอาหาร ใช้การเรียนการสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (Student-centered learning) หลักสูตรฯ เข้าใจในความแตกต่างของการเรียนรู้ของนักศึกษาแต่ละบุคคล คณาจารย์เป็นผู้จัดสรรองค์ความรู้พื้นฐานและกระตุ้นให้นักศึกษาเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง เพื่อให้นักศึกษาจบไปเป็นบัณฑิตที่ตรงตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตร
ประเทศไทยมีการพัฒนาทางด้านอุตสาหกรรมเกษตรอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคอุตสาหกรรมอาหาร เนื่องจากวัตถุดิบทั้งด้านเกษตรกรรมและกสิกรรมที่มีมากมายภายในประเทศ และการมีเทคโนโลยีการผลิตที่ก้าวหน้ามากขึ้น ทำให้อุตสาหกรรมอาหารและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องเติบโตอย่างรวดเร็ว เป็นทั้งผู้ผลิตสำหรับการบริโภคภายในประเทศและการส่งออกไปยังต่างประเทศ ดังนั้นบัณฑิตเทคโนโลยีการอาหารที่มีคุณภาพยังคงเป็นที่ต้องการ ในการเข้าไปเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารของประเทศ โดยทางหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (เทคโนโลยีการอาหาร) มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี นั้น ได้ทำการผลิตบัณฑิตมาแล้ว ๑๒ รุ่น เป็นหลักสูตร ฯ ที่เป็นกำลังสำคัญในการผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพเข้าไปมีบทบาท ในอุตสาหกรรมอาหารของประเทศเสมอมา ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการพัฒนาหลักสูตร ฯ ให้มีความทันสมัยและตรงกับความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่ปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์ของโลก
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
บัณฑิตที่จบจากหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (เทคโนโลยีการอาหาร) มีความรู้และมีทักษะด้านเทคโนโลยีการอาหาร สามารถทำงานในอุตสาหกรรมอาหาร มีคุณธรรมและจริยธรรมในวิชาชีพ มีศักยภาพในการพัฒนาตนเองตลอดชีวิต และมีคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของมหาวิทยาลัยมหิดล
- วัตถุประสงค์ของหลักสูตร (Program Objectives) บัณฑิตที่จบจากหลักสูตรเทคโนโลยีการอาหาร มีความรู้ความสามารถดังนี้
- มีความรู้และทักษะการใช้เครื่องมือต่าง ๆ ในการทำงานที่เกี่ยวข้องกับการแปรรูปและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารที่ปลอดภัยและเป็นไปตามมาตรฐานอาหารที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
- มีทักษะการทำปฏิบัติการในการวิเคราะห์ตรวจสอบคุณภาพอาหารในห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์
- คิดวิเคราะห์ แก้ปัญหา ค้นคว้า และทำวิจัยเกี่ยวกับเทคโนโลยีการอาหาร โดยคำนึงถึงปัจจัยภายนอกทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติ
- พัฒนาตนเองอยู่เสมอ ค้นคว้าหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือโดยใช้ เทคโนโลยีที่เหมาะสม
- มีทัศนคติที่ดีต่อการทำงาน มีความรับผิดชอบในหน้าที่ต่อตนเองและต่อสังคม และทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ เคารพในความแตกต่างระหว่างบุคคล
- มีคุณธรรมและจริยธรรมในการทำงาน
- สื่อสารทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้อย่างมีประสิทธิภาพกับบุคคลในหลากหลายระดับ
- ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตร (Program–level Learning Outcomes: PLOs)
- ออกแบบการผลิตผลิตภัณฑ์อาหารปลอดภัยและเป็นไปตามาตรฐานอาหารที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา โดยใช้ความรู้ด้านเทคโนโลยีการอาหารและวิทยาศาสตร์พื้นฐาน รวมทั้งศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้อย่างเหมาะสม บนพื้นฐานจริยธรรมในการประกอบอาชีพ
- ทำการทดลองโดยใช้เครื่องมือด้านการแปรรูปอาหารและตรวจวิเคราะห์คุณภาพของอาหารขั้นพื้นฐาน โดยคำนึงถึงความปลอดภัยตามมาตรฐานห้องปฏิบัติการและการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า
- ดำเนินงานวิจัยในด้านเทคโนโลยีการอาหารเพื่อการแก้ปัญหาหรือเพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร โดยอาศัยกระบวนการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่เหมาะสมและมีจริยธรรมการวิจัย
- สื่อสารความรู้ทางเทคโนโลยีการอาหาร ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตามกลุ่มเป้าหมายที่ต่างกันได้
- ทำงานเป็นทีมทั้งในบทบาทผู้นำหรือสมาชิกของกลุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพ
แนวทางการประกอบอาชีพ
บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาสาขาเทคโนโลยีการอาหารสามารถประกอบอาชีพที่น่าสนใจ ดังนี้
1. ทำงานในบทบาทนักเทคโนโลยีการอาหาร ไม่ว่าจะเป็น ฝ่ายผลิต ฝ่ายควบคุมและตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์ หรือฝ่ายพัฒนาและวิจัยในอุตสาหกรรมอาหารหรือที่เกี่ยวข้อง ทั้งในโรงงานอุตสาหกรรม ห้องปฏิบัติการ และสำนักงาน
2. ทำงานในบทบาทนักวิชาการ เช่น เจ้าหน้าที่ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องทั้งในภาครัฐและเอกชน เป็นต้น
โครงสร้างหลักสูตร
โครงสร้างหลักสูตร ปรับปรุง 2566
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร : 121 หน่วยกิต
1.หมวดวิชาศึกษาทั่วไป | 24 หน่วยกิต |
1.1.รายวิชาศึกษาทั่วไปแกน | 11 หน่วยกิต |
1.2.รายวิชาศึกษาทั่วไปเลือก | 13 หน่วยกิต |
2.หมวดวิชาเฉพาะ | 91 หน่วยกิต |
2.1กลุ่มวิชาแกน | 30 หน่วยกิต |
2.2กลุ่มวิชาเฉพาะด้าน | 61 หน่วยกิต |
หมวดวิชาเลือกเสรี | 6 หน่วยกิต |
โครงสร้างหลักสูตร ปรับปรุง 2561
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร : 140 หน่วยกิต
หมวดวิชาศึกษาทั่วไป | 30 หน่วยกิต |
กลุ่มวิชาที่มหาวิทยาลัยกำหนด | |
1.กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ | 7 หน่วยกิต |
2.กลุ่มวิชาภาษา | 9 หน่วยกิต |
กลุ่มมวิชาที่หลักสูตรกำหนด | |
1.กกลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ | 3 หน่วยกิต |
2.กลุ่มวิชาภาษา | 3 หน่วยกิต |
3.กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ | 7 หน่วยกิต |
4.กลุ่มวิชาสุขภาพและนันทนาการ | 1 หน่วยกิต |
หมวดวิชาเฉพาะ | 104 หน่วยกิต |
1.กลุ่มวิชาบังคับ | 95 หน่วยกิต |
2.กลุ่มวิชาเลือก | 9 หน่วยกิต |
หมวดวิชาเลือกเสรี | 6 หน่วยกิต |
รายวิชาในหลักสูตร
ก.หมวดวิชาศึกษาทั่วไป | |
รายวิชาศึกษาทั่วไปแกน | |
1) มมศท 100 การศึกษาทั่วไปเพื่อการพัฒนามนุษย์ | 3 หน่วยกิต |
รายวิชาศึกษาทั่วไปเลือก | |
– กญทอ 101 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหารเบื้องต้น | |
– กญทอ 201 การประยุกต์ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ | |
– กญสห 270 สถิติศาสตร์ขั้นแนะนำ | |
ข. หมวดวิชาเฉพาะ | |
(1) วิชาแกน | |
วทคณ 111 แคลคูลัส | 2 หน่วยกิต |
วทคณ 166 สมการเชิงอนุพันธ์สามัญ 3 (3-0-6) | |
วทคม 103 เคมีทั่วไป 1 3 (3-0-6) | |
วทคม 107 ปฏิบัติการเคมีทั่วไป | 1 หน่วยกิต |
วทชว 124 ชีววิทยาทั่วไป 1 | 2 หน่วยกิต |
วทชว 102 ปฏิบัติการหลักชีววิทยา 1 | 1 หน่วยกิต |
วทฟส 167 ฟิสิกส์สำหรับวิทยาศาสตร์ประยุกต์ 1 | 3 หน่วยกิต |
วทฟส 110 ปฏิบัติการฟิสิกส์ทั่วไป | 1 หน่วยกิต |
กญสห 202 ชีวเคมีเบื้องต้น | 2 หน่วยกิต |
กญสห 203 ปฏิบัติการชีวเคมีเบื้องต้น | 1 หน่วยกิต |
กญสห 224 เคมีอินทรีย์พื้นฐาน | 2 หน่วยกิต |
กญสห 225 ปฏิบัติการเคมีอินทรีย์พื้นฐาน | 1 หน่วยกิต |
กญสห 226 เคมีวิเคราะห์ 2 (2-0-4) | หน่วยกิต |
กญสห 227 ปฏิบัติการเคมีวิเคราะห์ | 1 หน่วยกิต |
กญทอ 260 เคมีเชิงฟิสิกส์ 2 (2-0-4) | |
กญทอ 270 จุลชีววิทยาทั่วไป | 2 หน่วยกิต |
กญทอ 271 ปฏิบัติการจุลชีววิทยาทั่วไป | 1 หน่วยกิต |
(2) วิชาเฉพาะด้าน (บังคับ) | |
กญทอ 250 การแปรรูปอาหาร 1 | 3 หน่วยกิต |
กญทอ 261 วิศวกรรมอาหาร 1 | 2 หน่วยกิต |
กญทอ 330 อาหารและโภชนาการ | 3 หน่วยกิต |
กญทอ 333 ความปลอดภัยในอาหารและสุขลักษณะ | 3 หน่วยกิต |
กญทอ 334 หลักการควบคุมคุณภาพและการประกันคุณภาพ | 3 หน่วยกิต |
กญทอ 335 กฎ ข้อบังคับและมาตรฐานผลิตภัณฑ์อาหาร | 2 หน่วยกิต |
กญทอ 350 การแปรรูปอาหาร 2 | 3 หน่วยกิต |
กญทอ 361 วิศวกรรมอาหาร 2 | 2 หน่วยกิต |
กญทอ 372 จุลชีววิทยาทางอาหาร 1 | 3 หน่วยกิต |
กญทอ 373 จุลชีววิทยาทางอาหาร 2 | 3 หน่วยกิต |
กญทอ 382 เคมีอาหาร 1 | 3 หน่วยกิต |
กญทอ 383 เคมีอาหาร 2 | 2 หน่วยกิต |
กญทอ 390 การวิเคราะห์อาหาร | 4 หน่วยกิต |
กญสห 370 การวางแผนการทดลอง | 3 หน่วยกิต |
กญทอ 430 การศึกษาอายุการเก็บรักษาของผลิตภัณฑ์อาหาร | 2 หน่วยกิต |
กญทอ 431 การพัฒนาผลิตภัณฑ์ | 3 หน่วยกิต |
กญทอ 432 สัมมนา | 1 หน่วยกิต |
กญทอ 433 ทัศนศึกษาชมโรงงาน | 1 หน่วยกิต |
กญทอ 440 ฝึกงาน * | 2 หน่วยกิต |
กญทอ 442 โครงการวิจัย * | 4 หน่วยกิต |
กญทอ 443 สหกิจศึกษา ** | 6 หน่วยกิต |
* สำหรับแผนการศึกษา ก | |
** สำหรับแผนการศึกษา ข | |
(3) วิชาเฉพาะด้าน (เลือก) | |
กญทอ 410 เทคโนโลยีผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์บกและสัตว์น้ำ | 3 หน่วยกิต |
กญทอ 412 การบำบัดและการใช้ประโยชน์จากของเสีย | 3 หน่วยกิต |
กญทอ 413 เทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์อาหาร | 3 หน่วยกิต |
กญทอ 414 เทคโนโลยีการหมักอาหาร | 3 หน่วยกิต |
กญทอ 415 เทคโนโลยีธัญพืชและแป้ง | 3 หน่วยกิต |
กญทอ 416 เทคโนโลยีนมและผลิตภัณฑ์นม | 3 หน่วยกิต |
กญทอ 420 การทดสอบทางประสาทสัมผัส | 3 หน่วยกิต |
กญทอ 421 เทคโนโลยีผลิตภัณฑ์ขนมอบ | 3 หน่วยกิต |
กญทอ 422 เทคโนโลยีเครื่องดื่ม | 3 หน่วยกิต |
กญทอ 423 อาหารแห่งอนาคต | 3 หน่วยกิต |
กญทอ 424 พิษวิทยาทางอาหารพื้นฐาน | 3 หน่วยกิต |