โครงการอบรมครูเชิงปฏิบัติการด้านธรณีศาสตร์รุ่นที่ 1-2

ตามที่ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี ได้ทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการกับสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เพื่อสนับสนุนการจัดการโครงการเรื่อง “โครงการอบรมครูเชิงปฏิบัติการด้านธรณีศาสตร์ ประจำปี 2562” เพื่อพัฒนาศักยภาพสำหรับครูผู้สอนและบุคลากรทางการศึกษา ได้รับการฝึกปฏิบัติโดยตรงกับผู้เชี่ยวชาญด้านธรณีศาสตร์ นำความรู้ไปพัฒนาสื่อการสอนและกิจกรรมส่งเสริมการสอน ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น นั้น มีผู้ร่วมการอบรมดังนี้ รุ่นที่ 1 ระหว่างวันที่ 8-13 พฤษภาคม 2562 จำนวน 40 คน รุ่นที่ 2 ระหว่างวันที่ 20-25 พฤษภาคม 2562 จำนวน 48 คน ซึ่งเป็นบุคลากรครูจากสถาบันการศึกษาทั่วประเทศรวม 62 โรงเรียนจาก 34 จังหวัด ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ ซึ่งเน้นการบูรณาการองค์ความรู้ด้านธรณีวิทยาร่วมกับวิทยาศาสตร์แขนงอื่นๆ ให้มีความรู้ความเข้าใจธรรมชาติของโลก ความเป็นมาในอดีตและแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงในอนาคต การกำเนิดทรัพยากรธรณี ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติต่างๆ ซึ่งการอบรมจะมีทั้งภาคทฤษฏี ภาคปฏิบัติ และเผชิญกับตัวอย่างจริงในภาคสนาม เพื่อให้เกิดความเชี่ยวชาญต่อไป

ทีมวิทยากร

ทีมผูประสานงาน

ทำเนียบรุ่นและภาพกิจกรรม

มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี ร่วมกับ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)

จัดโครงการอบรมครูเชิงปฏิบัติการด้านธรณีศาสตร์ ประจำปี 2562 (รุ่นที่ 1)

วันที่ 8 พฤษภาคม 2562 ผศ.ดร.ธัชวีร์ ลีละวัฒน์ รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายสารสนเทศและวิทยาเขตกาญจนบุรี เป็นประธานกล่าวเปิดโครงการอบรมครูเชิงปฏิบัติการด้านธรณีศาสตร์ (รุ่นที่1) เป็นความร่วมมือกับสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ณ ศูนย์พัฒนาและฝึกอบรมวิมานดิน ทั้งนี้ทีมวิทยากรประกอบด้วย อาจารย์ ดร.สุทัศชา หงษ์ศรีสวัสดิ์ และอาจารย์ ดร.ปริญญา พุทธาภิบาล อาจารย์ประจำสาขาวิชาธรณีศาสตร์
ซึ่งโครงการอบรมครูเชิงปฏิบัติการด้านธรณีศาสตร์ จัดขึ้นเพื่อเป็นการให้ความรู้ความเข้าใจแก่บุคลากรครูในโรงเรียนต่างๆ จาก 24 จังหวัดทั่วประเทศ ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ ซึ่งเน้นการบูรณาการองค์ความรู้ด้านธรณีวิทยาร่วมกับวิทยาศาสตร์แขนงอื่นๆ และการศึกษา ทำให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจธรรมชาติของโลก ความเป็นมาในอดีตและแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงในอนาคต การกำเนิดทรัพยากรธรณี ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติต่างๆ อย่างลึกซึ้งเพียงพอที่จะนำไปใช้เป็นพื้นฐานความคิดเพื่อให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวันและถ่ายทอดสู่กันต่อๆ ไปผ่านการเรียนรู้ทั้งภาคทฤษฏี ภาคปฏิบัติ และเผชิญกับตัวอย่างจริงในภาคสนาม เพื่อให้เกิดความเชี่ยวชาญต่อไป

มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี ร่วมกับสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)

จัดโครงการอบรมครูเชิงปฏิบัติการด้านธรณีศาสตร์ ประจำปี 2562 (รุ่นที่ 2)

วันที่ 20 พฤษภาคม 2562 ผศ.ดร.ธัชวีร์ ลีละวัฒน์ รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายสารสนเทศและวิทยาเขตกาญจนบุรี เป็นประธานกล่าวเปิดโครงการอบรมครูเชิงปฏิบัติการด้านธรณีศาสตร์ อีกครั้ง (รุ่นที่ 2) ณ ศูนย์พัฒนาและฝึกอบรมวิมานดิน โดยได้รับเกียรติจาก อาจารย์ ดร.ปริญญา พุทธาภิบาล และอาจารย์ ดร.สุทัศชา หงษ์ศรีสวัสดิ์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาธรณีศาสตร์ เป็นวิทยากรในโครงการ

ซึ่งโครงการอบรมครูเชิงปฏิบัติการด้านธรณีศาสตร์ จัดขึ้นเพื่อให้ความรู้ความเข้าใจแก่บุคลากรครูในโรงเรียนต่างๆ จาก 24 จังหวัดทั่วประเทศ ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ ซึ่งเน้นการบูรณาการองค์ความรู้ด้านธรณีวิทยาร่วมกับวิทยาศาสตร์แขนงอื่นๆ ให้มีความรู้ความเข้าใจธรรมชาติของโลก ความเป็นมาในอดีตและแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงในอนาคต การกำเนิดทรัพยากรธรณี ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติต่างๆ ซึ่งการอบรมจะมีทั้งภาคทฤษฏี ภาคปฏิบัติ และเผชิญกับตัวอย่างจริงในภาคสนาม เพื่อให้เกิดความเชี่ยวชาญต่อไป

การตรวจวิเคราะห์คุณภาพของดิน

“ตรวจวิเคราะห์ดิน ตรวจเองได้ ง่าย รู้และเร็ว ลดต้นทุน ลดการใช้ปุ๋ยเกิน” เทคโนโลยี “ปุ๋ยสั่งตัด” ง่ายต่อการเรียนรู้ ตรวจสอบธาตุอาหารพืชในดินอย่างง่ายด้วยตัวเอง ใช้ประกอบการตัดสินใจเลือกสูตรปุ๋ย และกำหนดปริมาณปุ๋ยในการปลูกพืชอย่างเหมาะสมกับคุณภาพดินและชนิดพืช ในพื้นที่เกษตร

การทำปุ๋ยอินทรีย์แบบไม่กลับกอง

“ทำปุ๋ยใช้เอง ไม่ต้องพลิกกลับกอง ใช้วัสดุท้องถิ่น ทำง่าย ได้เยอะ ลดต้นทุน” เทคโนโลยี “วิศวกรรมแม่โจ้ 1” ประยุกต์เศษวัสดุเหลือใช้มาทำให้เป็นปุ๋ยโดยไม่ต้องพลิกกลับกอง ง่ายต่อการทำ ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ให้ครัวเรือน

การผลิตก๊าซชีวภาพเป็นแหล่งพลังงานสำหรับครัวเรือนในชุมชน

เทคโนโลยีการผลิตก๊าซชีวภาพแบบถุงพลาสติกพีวีซีหรือพีอี ขนาด 7-8 ลูกบาศก์เมตร กักเก็บมูลสัตว์ หรือขยะอินทรีย์ เพื่อช่วยลดกลิ่นและเกิดก๊าซชีวภาพและน้ำหมักสำหรับทำการเกษตรในพื้นที่