ระดับ | ปริญญาตรี |
คณะ | วิทยาเขตกาญจนบุุรี |
มม.2 หลักสูตรปรับปรุง 2567 | มม.2 คลิกที่นี่ (ใช้กับนักศึกษารหัส 67 เป็นต้นไป) |
มคอ.2 หลักสูตรปรับปรุง 2562 | มคอ.2 คลิกที่นี่ (ใช้กับนักศึกษารหัส 62-66) |
มคอ.2 หลักสูตรปรับปรุง 2556 | มคอ.2 คลิกที่นี่ (ใช้กับนักศึกษารหัส 57-61) |
แบบรายงานข้อมูลหลักสูตร | Mu Degree Profile |
ชื่อปริญญา
วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและการจัดการภัยพิบัติ)
ปรัชญาการศึกษา
หลักสูตรวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและการจัดการภัยพิบัติ จัดการเรียนการสอนโดยใช้การเรียนรู้เป็น
ศูนย์กลาง เพื่อพัฒนาทักษะชีวิตที่จำเป็นให้แก่นักศึกษา และกระตุ้นให้นักศึกษาสามารถสร้างเสริมความรู้ความสามารถ สร้างทักษะใหม่ได้ด้วยตนเอง และบูรณาการความรู้ระหว่างวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและศาสตร์ในการจัดการภัยพิบัติเพื่อให้นักศึกษาจบไปเป็นบัณฑิตที่ตรงตามผลลัพธ์การเรียนรู้
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
- วัตถุประสงค์ของหลักสูตร (Program Objectives)
- รู้ลึก เป็นไปตามมาตรฐานสภาวิชาชีพวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมความสามารถ วางแผน จัดการ ควบคุม บรรเทา ลด และแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ซับซ้อนอันเกิดจากมนุษย์และภัยธรรมชาติ
- สามารถใช้เครื่องมือทางวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและการจัดการภัยพิบัติได้อย่างถูกต้องตามขั้นตอนมาตรฐานสากล
- มีทักษะชีวิตที่จำเป็น ได้แก่ ทักษะการทำงาน ทักษะการเรียนรู้ ทักษะสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยีสอดคล้องกับทักษะการเรียนรู้ที่มหาวิทยาลัยมหิดลกำหนด และค่านิยมองค์กรมหาวิทยาลัยมหิดล
- รู้กว้าง มองเห็นภาพทั้งระบบ วางแผนการทำงาน มีความเป็นผู้นำ มีความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่นหลากหลายวิชาชีพและวัฒนธรรม และรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายให้สำเร็จ
- มีคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณของความเป็นวิศวกร
- มีทักษะการนำเสนอทางวาจาและการเขียนเพื่อการสื่อสารงานอย่างมีประสิทธิผลทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
- ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตร (Program–level Learning Outcomes: PLOs) เมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอนในหลักสูตร ผู้ส าเร็จการศึกษาจะสามารถ
- กำหนดแนวทางแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมบนพื้นฐานความรู้โดยคำนึงถึงปัจจัยทางเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และจรรยาบรรณทางวิชาชีพวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม ร่วมกับความรู้และทักษะวิศวกรรมอื่นที่เกี่ยวกับการจัดการภัยพิบัติ
- ใช้เครื่องมือวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์เพื่อการปฏิบัติงานทางวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและการจัดการภัยพิบัติได้ถูกต้องตามหลักวิชาการบนพื้นฐานของความปลอดภัย
- ใช้สารสนเทศและแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ เพื่อเข้าใจปัญหาทางวิศวกรรมที่มีความซับซ้อน
- แสดงออกถึงจริยธรรม คุณธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพวิศวกรรม ร่วมกับการใช้มาตรฐานที่ยอมรับใน ระดับสากล ในการตัดสินใจต่อสถานการณ์ที่มีผลกระทบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม
- ทำงานร่วมกันผู้อื่นตามบทบาทและหน้าที่ด้วยความเคารพในความเห็นที่แตกต่าง
- สื่อสารความคิดในรูปแบบลายลักษณ์อักษรและวาจา ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ต่อผู้มีส่วน เกี่ยวข้องที่มีความหลากหลายทางวิชาชีพและวัฒนธรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
แนวทางการประกอบอาชีพ
1. วิศวกรงานระบบที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม ได้แก่ งานระบบสุขาภิบาลในอาคารและระบบรวบรวมน้ำเสีย งานระบบการผลิตน้ำสะอาดเพื่ออุปโภคและบริโภค งานระบบบำบัดน้ำเสีย งานระบบควบคุมมลพิษอากาศ และงานระบบการจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย เป็นต้น
2. นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่ งานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม งานวิจัยพัฒนานวัตกรรมทางสิ่งแวดล้อม งานวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อใช้วางแผนและประเมินผลกระทบ งานประเมินความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นต้น
สามารถทำงานในหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนทั้งในและต่างประเทศ เช่น กรมโรงงานอุตสาหกรรม กรมควบคุมมลพิษ กรมทรัพยากรน้ า สำนักนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สถาบันการศึกษา/วิจัย และหน่วยงานด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมและภัยพิบัติ
แนวทางการศึกษาต่อ
สามารถศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษาทั้งในและต่างประเทศในสายวิทยาศาสตร์วิศวกรรมศาสตร์ และสาธารณสุขศาสตร์อาทิเช่น อาชีวอนามัย
โครงสร้างหลักสูตร
โครงสร้างหลักสูตร ปรับปรุง 2567
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร : 137 หน่วยกิต
หมวดวิชา | หน่วยกิต |
1.หมวดวิชาศึกษาทั่วไป | 24 |
1.1 รายวิชาศึกษาทั่วไปแกน | 11 |
(1) รายวิชา มมศท 100 การศึกษาทั่วไปเพื่อการพัฒนามนุษย์ | 3 |
(2) รายวิชาในกลุ่มภาษาที่มหาวิทยาลัยกำหนด | 6 |
(3) รายวิชาในกลุ่ม MU Literacy ที่มหาวิทยาลัยกำหนด | 2 |
1.2 รายวิชาศึกษาทั่วไปเลือก | 13 |
(1) กลุ่ม Health Literacy | |
(2) กลุ่ม Science and Environment Literacy | |
(3) กลุ่ม Intercultural and Global Awareness Literal | |
(4) กลุ่ม Civic Literacy | |
(5) กลุ่ม Finance and Management Literacy | |
2.หมวดวิชาเฉพาะ | 107 |
(1) วิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ | 21 |
(2) วิชาพื้นฐานวิศวกรรม | 31 |
(3) วิชาเฉพาะวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและการจัดการภัยพิบัติ | 49 |
(4) วิชาเฉพาะเลือก | 6 |
3.หมวดวิชาเลือกเสรี | 6 |
โครงสร้างหลักสูตร ปรับปรุง 2562
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร : 145 หน่วยกิต
หมวดวิชาศึกษาทั่วไป | 30 หน่วยกิต |
1.กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ | 10 หน่วยกิต |
2.กลุ่มวิชาภาษา | 9 หน่วยกิต |
3.กลุ่มวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ | 9 หน่วยกิต |
4.กลุ่มวิชาสุขภาพและนันทนาการ | 2 หน่วยกิต |
หมวดวิชาเฉพาะ | 109 หน่วยกิต |
1.วิชาแกน | 21 หน่วยกิต |
2.กลุ่มวิชาเฉพาะบังคับ | 82 หน่วยกิต |
3.กลุ่มวิชาเฉพาะเลือก | 6 หน่วยกิต |
หมวดวิชาเลือกเสรี | 6 หน่วยกิต |
ก. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป | 24 หน่วยกิต |
1.รายวิชาศึกษาทั่วไปแกน | 11 หน่วยกิต |
มมศท 100 การศึกษาทั่วไปเพื่อการพัฒนามนุษย์ | 3 หน่วยกิต |
2.กลุ่มวิชาภาษา | 9 หน่วยกิต |
ศศลท 111 ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารในระดับอุดมศึกษา | 2 หน่วยกิต |
ศศภอ 122* ภาษาอังกฤษระดับก่อนระดับกลาง | 2 หน่วยกิต |
ศศภอ 123* ภาษาอังกฤษระดับกลาง | 2 หน่วยกิต |
ศศภอ 124* ภาษาอังกฤษระดับกลางค่อนข้างสูง | 2 หน่วยกิต |
ศศภอ 125* ภาษาอังกฤษระดับสูง | 3 หน่วยกิต |
ศศศศ 126* การทำสำรวจเป็นภาษาอังกฤษ | 2 หน่วยกิต |
ศศศศ 127* ภาษาอังกฤษเพื่อการปฏิสัมพันธ์พลเมืองยุคดิจิทัล | 2 หน่วยกิต |
ศศศศ 128* วรรณกรรมและความเป็นพลเมืองโลก | 2 หน่วยกิต |
* นักศึกษาลงทะเบียนเรียนอย่างน้อย 4 หน่วยกิต ตามผลคะแนนสอบภาษาอังกฤษของนักศึกษา เป็นไปตามประกาศมหาวิทยาลัยมหิดล เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดกลุ่มเรียนรายวิชาภาษาอังกฤษตามเกณฑ์มาตรฐานความรู้ภาษาอังกฤษของนักศึกษาหลักสูตรระดับปริญญาตรี (หลักสูตรไทย) มหาวิทยาลัยมหิดล | |
3. รายวิชากลุ่ม MU Literacy ที่มหาวิทยาลัยกำหนด | |
xxyy zzz รายวิชาศึกษาทั่วไป: MU Literacy | 2 หน่วยกิต |
2. รายวิชาศึกษาทั่วไปเลือกในกลุ่ม Literacy 5 กลุ่ม | 13 หน่วยกิต |
1) กลุ่ม Science and Environmental Literacy | |
กญสห 270 สถิติศาสตร์ขั้นแนะนำ | 2 หน่วยกิต |
2) กลุ่ม Intercultural and Global Awareness Literacy | |
xxyy zzz รายวิชาศึกษาทั่วไป: Intercultural and Global Awareness Literacy | 3 หน่วยกิต |
3) กลุ่ม Finance and Management Literacy | |
xxyy zzz รายวิชาศึกษาทั่วไป: Finance and Management Literacy | 3 หน่วยกิต |
4) กลุ่ม Civic Literacy | |
xxyy zzz รายวิชาศึกษาทั่วไป: Civic Literacy | 2 หน่วยกิต |
ข.หมวดวิชาเฉพาะ | 107 หน่วยกิต |
1) วิชาพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ | 21 หน่วยกิต |
วทฟส 151 ฟิสิกส์ทั่วไป 1 | 3 หน่วยกิต |
วทฟส 152 ฟิสิกส์ทั่วไป 2 | 3 หน่วยกิต |
วทฟส 110 ปฏิบัติการฟิสิกส์ทั่วไป | 1 หน่วยกิต |
วทฟส 120 ปฏิบัติการฟิสิกส์ | 1 หน่วยกิต |
วทคม 115 เคมีทั่วไป | 3 หน่วยกิต |
วทคม 118 ปฏิบัติการเคมี | 1 หน่วยกิต |
วทคณ 115 แคลคูลัส | 3 หน่วยกิต |
วทคณ 165 สมการอนุพันธ์เชิงสามัญ | 3 หน่วยกิต |
กญสภ 221 คณิตศาสตร์สำหรับวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและการจัดการภัยพิบัติ | 3 หน่วยกิต |
(2) วิชาพื้นฐานทางด้านวิศวกรรม | 31 หน่วยกิต |
กญสภ 123 วัสดุวิศวกรรม | 2 หน่วยกิต |
กญสภ 232 กลศาสตร์วิศวกรรม | 3 หน่วยกิต |
กญสภ 224 การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ | 3 หน่วยกิต |
กญสภ 233 เคมีของน้ำและน้ำเสียสำหรับวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม | 3 หน่วยกิต |
กญสภ 234 ปฏิบัติการเคมีน้ำและน้ำเสีย | 1 หน่วยกิต |
กญสภ 235 เขียนแบบวิศวกรรม | 2 หน่วยกิต |
กญสภ 236 การสำรวจสำหรับวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและการจัดการภัยพิบัติ | 2 หน่วยกิต |
กญสภ 229 ชลศาสตร์ | 3 หน่วยกิต |
กญสภ 230 ปฏิบัติการชลศาสตร์ | 1 หน่วยกิต |
กญสภ 237 จุลชีววิทยาด้านวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม | 2 หน่วยกิต |
กญสภ 324 หน่วยปฏิบัติการสำหรับวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม | 3 หน่วยกิต |
กญสภ 325 ปฏิบัติการทางวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม | 1 หน่วยกิต |
กญสภ 334 อุทกสารสนเทศ | 3 หน่วยกิต |
กญสภ 327 หน่วยกระบวนการทางชีวภาพ | 2 หน่วยกิต |
(3) วิชาเฉพาะทางวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและการจัดการภัยพิบัติ | 49 หน่วยกิต |
กญสภ 122 พื้นฐานวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและการจัดการภัยพิบัติ | 2 หน่วยกิต |
กญสภ 242 อาชีวอนามัยและความปลอดภัย | 2 หน่วยกิต |
กญสภ 243 วิศวกรรมขยะมูลฝอย | 3 หน่วยกิต |
กญสภ 244 กฎหมายและจรรยาบรรณวิชาชีพวิศวกรรม | 1 หน่วยกิต |
กญสภ 335 วิศวกรรมประปาและการออกแบบ | 3 หน่วยกิต |
กญสภ 341 สุขาภิบาลอาคาร | 3 หน่วยกิต |
กญสภ 343 การควบคุมมลภาวะทางเสียงและความสั่นสะเทือน | 2 หน่วยกิต |
กญสภ 351 วิศวกรรมน้ำเสียและการออกแบบ | 3 หน่วยกิต |
กญสภ 347 การจัดการมลพิษอากาศและการควบคุม | 3 หน่วยกิต |
กญสภ 355 การจัดการกากอุตสาหกรรมและของเสียอันตราย | 3 หน่วยกิต |
กญสภ 345 การจัดการความเสี่ยงภัยพิบัติและสิ่งแวดล้อม | 3 หน่วยกิต |
กญสภ 356 ภูมิสารสนเทศสำหรับการจัดการสิ่งแวดล้อมและภัยพิบัติ | 3 หน่วยกิต |
กญสภ 357 โครงงานออกแบบเพื่อแก้ปัญหา 1 | 2 หน่วยกิต |
กญสภ 358 การฝึกงาน | 1 หน่วยกิต |
กญสภ 446 การสร้างเมืองที่รับมือกับการเปลี่ยนแปลง | 3 หน่วยกิต |
กญสภ 447 แบบจำลองสำหรับการจัดการภัยพิบัติและสิ่งแวดล้อม | 3 หน่วยกิต |
กญสภ 448 ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม | 2 หน่วยกิต |
กญสภ 449 การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม | 2 หน่วยกิต |
กญสภ 453 ภาษาอังกฤษในงานวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและการจัดการภัยพิบัติ | 1 หน่วยกิต |
กญสภ 454 โครงงานออกแบบเพื่อแก้ปัญหา 2 | 4 หน่วยกิต |
(4) วิชาเฉพาะเลือก | 6 หน่วยกิต |
แขนงวิชาพลังงาน | |
กญสภ 382 พลังงานทดแทนเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน | 3 หน่วยกิต |
กญสภ 386 พลังงานนิวเคลียร์และไฮโดรเจน | 3 หน่วยกิต |
แขนงวิชา เศรษฐกิจเพื่อความยั่งยืน | |
กญสภ 383 พื้นฐานการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม | 3 หน่วยกิต |
กญสภ 387 ความยั่งยืน | 3 หน่วยกิต |
กญสภ 388 วิศวกรรมสู่ผู้ประกอบการขั้นพื้นฐาน | 3 หน่วยกิต |
กญสภ 389 พื้นฐานเศรษฐศาสตร์วิศวกรรม | 3 หน่วยกิต |
แขนงวิชา การจัดการทรัพยากรและภัยธรรมชาติ | |
กญสภ 390 การจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำ | 3 หน่วยกิต |
กญสภ 391 แบบจำลองคอมพิวเตอร์สำหรับการจัดการน้ำท่วมและภัยแล้ง | 3 หน่วยกิต |
กญสภ 393 การจัดการคุณภาพน้ำ | 3 หน่วยกิต |
กญสภ 394 ธรณีพิบัติภัย | 3 หน่วยกิต |
กญสภ 482 การสำรวจระยะไกลสำหรับการบริหารจัดการภัยพิบัติ | 3 หน่วยกิต |
แขนงวิชา ประสบการณ์วิชาชีพ | |
กญสภ 492 สหกิจศึกษา | 6 หน่วยกิต |
แขนงวิชา วิศวกรรมสิ่งแวดล้อมขั้นสูง | |
กญสภ 395 การจัดการมลพิษดินและตะกอนดิน | 3 หน่วยกิต |
กญสภ 485 การบริหารโครงการ | 3 หน่วยกิต |
กญสภ 486 เทคโนโลยีการใช้ประโยชน์จากของเสีย | 3 หน่วยกิต |
กญสภ 488 เทคโนโลยีเมมเบรนสำหรับการปรับปรุงคุณภาพน้ำและบำบัดน้ำเสีย | 3 หน่วยกิต |
กญสภ 489 กระบวนการปรับปรุงคุณภาพน้ำขั้นสูง | 3 หน่วยกิต |
กญสภ 496 การสำรวจและฟื้นฟูพื้นที่ปนเปื้อน | 3 หน่วยกิต |
กญสภ 498 หัวข้อพิเศษ | 3 หน่วยกิต |
ค.หมวดวิชาเลือกเสรี | 6 หน่วยกิต |